โดย 5 อันดับแรก คือ ชัยนาท 106.7 ไมโครกรัม สิงห์บุรี 105 ไมโครกรัม อ่างทอง 96.4 ไมโครกรัม นครสวรรค์ 89.7 ไมโครกรัม และ สมุทรสงคราม 87.4 ไมโครกรัม
พบอีก 33 จังหวัด ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพสีส้ม โดย 3 อันดับแรกสีส้ม ได้แก่ สุพรรณบุรี 71.1 ไมโครกรัม กาญจนบุรี 68.7 ไมโครกรัม และ พิษณุโลก 68.4 ไมโครกรัม
ในขณะที่กรุงเทพมหานคร พบค่าฝุ่น PM2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีส้ม จำนวน 28 เขต โดย 5 อันดับแรก คือ ดอนเมือง 50.7 ไมโครกรัม หลักสี่ 47.6 ไมโครกรัม ราษฎร์บูรณะ 44.9 ไมโครกรัม หนองจอก 44.3 ไมโครกรัม และ บางคอแหลม 44.3 ไมโครกรัม
ทั้งนี้ จากข้อมูลจุดความร้อนที่รายงานโดย GISTDA เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 พบจุดความร้อนทั้งประเทศ 175 จุด ส่วนใหญ่พบในพื้นที่การเกษตร 74 จุด ตามด้วยพื้นที่เขต สปก. 36 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 31 จุด ชุมชนและอื่นๆ 24 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 7 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 3 จุด และจังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ กาญจนบุรี 16 จุด ชัยภูมิ 11 จุด สระบุรี 11 จุด เพชรบูรณ์ 10 จุด และ นครราชสีมา 10 จุด
นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านที่พบจุดความร้อน มากสุดอยู่ที่กัมพูชา 1,139 จุด ตามด้วย พม่า 235 จุด เวียนดนาม 126 จุด และ ลาว 75 จุด
ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ