กรุงเทพมหานคร (กทม.) ดำเนินมาตรการทุกด้าน เพื่อลดปริมาณฝุ่น PM2.5 หลังคาดการณ์ว่าค่าฝุ่นจะอยู่ในระดับสีเหลืองและสีส้ม ทำให้คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่
- การแจกจุลินทรีย์พิเศษที่สามารถหมักชีวมวลได้รวดเร็วขึ้นจาก 30 วัน เหลือเพียง 7 วัน เพื่อให้เกษตรกรลดการเผาชีวมวลในที่โล่งแจ้งลง
- โครงการ "รถคันนี้ลดฝุ่น" รณรงค์ให้เปลี่ยนไส้กรองอากาศและน้ำมันเครื่องยนต์ โดยตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค.66-9 ม.ค.67 มีรถเข้าร่วมโครงการแล้ว 41,488 คัน ช่วยลดฝุ่น PM2.5 ได้ 2% ซึ่งตั้งเป้ารถเข้าร่วมโครงการจำนวน 3 แสนคัน เพื่อช่วยลดฝุ่น PM2.5 ลง 15%
- ตรวจแหล่งกำหนดฝุ่นต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 - 11 ม.ค.67 เช่น
สถานประกอบการ/โรงงาน 348 แห่ง ตรวจสอบ 12,212 ครั้ง ไม่ผ่าน (สั่งให้ปรับปรุงแก้ไข) 8 แห่ง
แพลนท์ปูน 120 แห่ง ตรวจสอบ 1,642 ครั้ง ไม่ผ่าน (สั่งให้ปรัมปรุงแก้ไข) 17 แห่ง
สถานที่ก่อสร้าง 525 แห่ง ตรวจสอบ 4806 ครั้ง ไม่ผ่าน (สั่งให้ปรับปรุงแก้ไข) 34 แห่ง
ถมดิน/ท่าทราย 23 แห่ง ตรวจสอบ 286 ครั้ง
ตรวจควันดำในสถานที่ต้นทาง 3,090 คัน เกินค่ามาตรฐาน (สั่งให้ปรับปรุงแก้ไข) 19 คัน
ตรวจจับรถยนต์ปล่อยควันดำ 147,021 คัน ห้ามใช้ 2,282 คัน
ตรวจรถโดยสารประจำทาง/ไม่ประจำทาง 38,028 คัน ห้ามใช้ 120 คัน
ตรวจรถบรรทุก 97,429 คัน ห้ามใช้ 544 คัน
ทั้งนี้ จากงานวิจัยพบว่าฝุ่นในพื้นที่ กทม. แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ฝุ่นที่มีต้นกำเนิดจากทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ กทม.โดยมีฝุ่นที่เกิดจากภายนอกกรุงเทพฯ และปริมณฑล 42% ฝุ่นที่เกิดจากการจราจร 22% ฝุ่นที่เกิดจากการเผาในที่โล่ง 16% ฝุ่นที่เกิดจากการโรงงานอุตสาหกรรม 15% ฝุ่นถนน 4% อื่นๆ 1% และมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งระบุว่า ฝุ่นในพื้นที่ กทม.มาจากรถยนต์ดีเซล 57% ฝุ่นทุติยภูมิ 16% เผาในที่โล่ง 15% รถยนต์เบนซิน 8% และอื่นๆ 4%
สำหรับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของ กทม.ตรวจวัดได้ 24.1-55.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 26 พื้นที่ ได้แก่
1.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 55.7 มคก./ลบ.ม.
2.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 52.8 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 51.8 มคก./ลบ.ม.
4.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 48.2 มคก./ลบ.ม.
5.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 45.9 มคก./ลบ.ม.
6.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 45.4 มคก./ลบ.ม.
7.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 44.3 มคก./ลบ.ม.
8.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 44.2 มคก./ลบ.ม.
9.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 44.1 มคก./ลบ.ม.
10.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 44.0 มคก./ลบ.ม.
11.สวนหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 43.8 มคก./ลบ.ม.
12.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 43.6 มคก./ลบ.ม.
13.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 43.4 มคก./ลบ.ม.
14.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 43.2 มคก./ลบ.ม.
15.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 42.7 มคก./ลบ.ม.
16.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 42.4 มคก./ลบ.ม.
17.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 42.1 มคก./ลบ.ม.
18.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 42.1 มคก./ลบ.ม.
19.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
20.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.
21.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 40.1 มคก./ลบ.ม.
22.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 39.8 มคก./ลบ.ม.
23.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 39.5 มคก./ลบ.ม.
24.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 39.3 มคก./ลบ.ม.
25.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 39.2 มคก./ลบ.ม.
26.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 37.9 มคก./ลบ.ม.