2 ปี "ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" คนกรุงส่วนใหญ่พอใจผลงาน วางใจเลือกอีกสมัยหน้า

ข่าวทั่วไป Sunday June 2, 2024 10:05 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

2 ปี

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง "2 ปี ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" โดยเมื่อถามถึงความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร ต่อการทำงานในรอบ 2 ปี ของ "นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในประเด็นต่าง ๆ มีผลสรุปดังนี้

1. การส่งเสริมการท่องเที่ยวใน กทม. พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ 43.05% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 21.30% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ส่วนอีก 20.15% ระบุว่า ดีมาก และอีก 8.20% ระบุว่า ไม่ดีเลย

2. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ตัวอย่างส่วนใหญ่ 45.75% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 21.65% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ส่วนอีก 19.60% ระบุว่า ดีมาก ขณะที่ 10.30% ระบุว่า ไม่ดีเลย

3. การปรับปรุงและจัดระเบียบทางเท้า เช่น หาบเร่แผงลอย การจอดยานพาหนะหรือตั้งร้านบนทางเท้า ตัวอย่างส่วนใหญ่ 46.60% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 21.30% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ส่วนอีก 19.35% ระบุว่า ดีมาก และอีก 11.60% ระบุว่า ไม่ดีเลย

4. การสนับสนุนการกีฬา ตัวอย่างส่วนใหญ่ 41.80% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 23.25% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ขณะที่ 17.45% ระบุว่า ดีมาก และอีก 8% ระบุว่า ไม่ดีเลย

5. การแก้ไขปัญหาความสะอาด ขยะ ฝุ่นละออง น้ำเสีย ตัวอย่างส่วนใหญ่ 44.30% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 25.40% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ขณะที่ 17.15% ระบุว่า ดีมาก และอีก 12.25% ระบุว่า ไม่ดีเลย

6. การปรับปรุงทัศนียภาพ ถนน ตรอก ซอย ตัวอย่างส่วนใหญ่ 46.90% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 23.60% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ส่วนอีก 16.85% ระบุว่า ดีมาก ขณะที่ 11.45% ระบุว่า ไม่ดีเลย

7. การปรับปรุงการให้บริการในหน่วยงานของ กทม. ตัวอย่างส่วนใหญ่ 43.15% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 22.10% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ขณะที่ 16.05% ระบุว่า ดีมาก และอีก 12.40% ระบุว่า ไม่ดีเลย

8. การป้องกันอาชญากรรม และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การติดไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ระบบรักษาความปลอดภัย ตัวอย่างส่วนใหญ่ 43.35% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 28.15% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ขณะที่ 15.10% ระบุว่า ดีมาก ส่วนอีก 11.15% ระบุว่า ไม่ดีเลย

9. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ตัวอย่างส่วนใหญ่ 37% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 29.05% ระบุว่า ไม่ค่อยดี และอีก 16% ระบุว่า ไม่ดีเลย ขณะที่ 13.95% ระบุว่า ดีมาก

10. การจัดระเบียบการชุมนุม ตัวอย่างส่วนใหญ่ 41.50% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 24.90% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ขณะที่ 13.70% ระบุว่า ดีมาก และอีก 10.15% ระบุว่า ไม่ดีเลย

11. การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า เรือ ตัวอย่างส่วนใหญ่ 41.10% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 29.35% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ขณะที่ 13.35% ระบุว่า ดีมาก ส่วนอีก 8.80% ระบุว่า ไม่ดีเลย

12. การแก้ไขปัญหาสุขภาพ/สาธารณสุข ตัวอย่างส่วนใหญ่ 41.25% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 28.65% ระบุว่า ไม่ค่อยดี ส่วนอีก 12.65% ระบุว่า ดีมาก ขณะที่ 11% ระบุว่า ไม่ดีเลย

13. การพัฒนาการศึกษา แก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ตัวอย่างส่วนใหญ่ 36% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 28.10% ระบุว่า ไม่ค่อยดี และอีก 12.40% ระบุว่า ไม่ดีเลย ขณะที่ 11.80% ระบุว่า ดีมาก

14. การแก้ไขปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ในหน่วยงานของ กทม. ตัวอย่างส่วนใหญ่ 30.95% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 27.35% ระบุว่า ไม่ค่อยดี และอีก 18.35% ระบุว่า ไม่ดีเลย ขณะที่ 10.50% ระบุว่า ดีมาก

15. การจัดระเบียบคนเร่ร่อน คนจรจัด ขอทาน ตัวอย่างส่วนใหญ่ 35.70% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 33.25% ระบุว่า ไม่ค่อยดี และอีก 15.40% ระบุว่า ไม่ดีเลย ขณะที่% 10.35 ระบุว่า ดีมาก

16. การแก้ไขปัญหาจราจรและรถติด ตัวอย่างส่วนใหญ่ 37.30% ระบุว่า ค่อนข้างดี รองลงมา 34.40% ระบุว่า ไม่ค่อยดี และอีก 17.60% ระบุว่า ไม่ดีเลย ขณะที่ 9% ระบุว่า ดีมาก

17. การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ/ปากท้อง ตัวอย่างส่วนใหญ่ 38.70% ระบุว่า ไม่ค่อยดี รองลงมา 24.70% ระบุว่า ไม่ดีเลย ส่วนอีก 24.55% ระบุว่า ค่อนข้างดี ขณะที่ 4.90% ระบุว่า ดีมาก

ด้านความพึงพอใจของคนกรุงเทพมหานคร ต่อการทำงานในรอบ 2 ปี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ 50.25% ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ รองลงมา 20.35% ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ขณะที่ 18.45% ระบุว่า พอใจมาก และอีก 10.60% ระบุว่า ไม่พอใจเลย

ท้ายสุดเมื่อถามว่า หากวันนี้ เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะเลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือไม่ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ 40.75% ระบุว่า เลือก รองลงมา 34.50% ระบุว่า ไม่แน่ใจ และอีก 21.35% ระบุว่า ไม่เลือก

ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าว มาจากความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพมหานคร และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น 2,000 หน่วยตัวอย่าง ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-27 พฤษภาคม 2567


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ