ดุสิตโพล เผยคนไทยเกินครึ่ง ไม่อิน! "ทรัมป์" ชนะเลือกตั้งสหรัฐ แต่เชื่อมีผลต่อนโยบายการค้า

ข่าวทั่วไป Sunday November 10, 2024 10:45 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ดุสิตโพล เผยคนไทยเกินครึ่ง ไม่อิน!
"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง "บทเรียนที่คนไทยได้จากเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024"

1. ความรู้สึกของคนไทยที่ "โดนัลด์ ทรัมป์" ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

อันดับ 1 กลุ่มตัวอย่าง 53.13% ระบุว่า เฉยๆ

อันดับ 2 กลุ่มตัวอย่าง 46.87% ระบุว่า ดีใจ

2. การที่ "โดนัลด์ ทรัมป์" เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง

อันดับ 1 กลุ่มตัวอย่าง 62.82% ระบุว่า มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับไทย

อันดับ 2 กลุ่มตัวอย่าง 54.24% ระบุว่า มีการพัฒนาความร่วมมือทางการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

อันดับ 3 กลุ่มตัวอย่าง 47.11% ระบุว่า ส่งเสริมประชาธิปไตยและความร่วมมือทางการเมือง

อันดับ 4 กลุ่มตัวอย่าง 42.24% ระบุว่า มีการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและเงินทุน

อันดับ 5 กลุ่มตัวอย่าง 39.53% ระบุว่า การท่องเที่ยวและข้อจำกัดด้านวีซ่าที่อาจเพิ่มขึ้น

3. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

อันดับ 1 กลุ่มตัวอย่าง 59.17% ระบุว่า ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง

อันดับ 2 กลุ่มตัวอย่าง 56.12% ระบุว่า เห็นบทบาทและอิทธิพลของสื่อในการเลือกตั้ง

อันดับ 3 กลุ่มตัวอย่าง 52.88% ระบุว่า ได้รับรู้ถึงความสำคัญของนโยบายต่างประเทศที่มีต่อโลก

อันดับ 4 กลุ่มตัวอย่าง 49.64% ระบุว่า เข้าใจระบบการเลือกตั้งของสหรัฐฯ มากขึ้น

อันดับ 5 กลุ่มตัวอย่าง 44.06% ระบุว่า การพูดแสดงวิสัยทัศน์และการปราศรัยให้น่าสนใจเป็นสิ่งสำคัญ

ทั้งนี้ ผลการสำรวจดังกล่าว มาจากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,118 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2567

น.ส.พรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าคนไทยมีท่าทีเป็นกลางต่อผลการเลือกตั้ง โดยสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ซึ่งอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทย การเลือกตั้ง ครั้งนี้ยังเป็นบทเรียนที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นการยอมรับผลการเลือกตั้ง กระบวนการที่โปร่งใส และอิทธิพลของสื่อที่ขับเคลื่อนกระแสสังคม

ทั้งนี้ ผลโพลที่สูสีตลอดช่วงเลือกตั้งยังสะท้อนว่า ความเห็นของผู้คนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อม และช่วงเวลา ผลลัพธ์ที่คาดการณ์ทำได้ยากยิ่งขึ้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ