ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของ กทม. เมื่อเวลา 07.00 น.ที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 23.8-42.1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 9 พื้นที่ ได้แก่
- เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 42.1 มคก./ลบ.ม.
- เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
- เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 41.4 มคก./ลบ.ม.
- เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 41.0 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 40.0 มคก./ลบ.ม.
- เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 39.2 มคก./ลบ.ม.
- เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 38.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 37.7 มคก./ลบ.ม.
เนื่องจากในช่วงวันที่ 10-18 ธ.ค.67 การระบายอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์อ่อน ขณะที่ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นยังคงเกิดอินเวอร์ชั่นที่ระดับต่ำ ทำให้มลพิษทางอากาศแพร่กระจายได้อย่างจำกัด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงเพิ่มขึ้นในระยะ 2-3 วัน จากนั้นค่อย ๆ ลดลง
ทั้งนี้ ขอให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร, จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร, เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก, ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และหากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์