ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เวลา 07.00 น. ตรวจวัดได้ 28-50.8 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่า เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 31 พื้นที่ โดย 10 พื้นที่ในกทม. ที่มีค่าฝุ่นสูงสุด ได้แก่
1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 50.8 มคก./ลบ.ม.
2. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 48.2 มคก./ลบ.ม.
3. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 46.0 มคก./ลบ.ม.
4. เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 44.8 มคก./ลบ.ม.
5. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 44.5 มคก./ลบ.ม.
6. เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 44.2 มคก./ลบ.ม.
7. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 43.2 มคก./ลบ.ม.
8. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 42.3 มคก./ลบ.ม.
9. เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 42.2 มคก./ลบ.ม.
10. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 42.1 มคก./ลบ.ม.
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ "ไม่ดี" ขณะที่มีการเกิดอินเวอร์ชั่นใกล้ผิวพื้น จึงทำให้มลพิษทางอากาศสามารถแพร่กระจายได้อย่างจำกัด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากนั้นการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ "อ่อน-ดี" ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลงได้ในระยะสั้น
สำหรับคุณภาพอากาศระดับสีส้ม ถือว่าเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรม หรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ส่วนประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์