- ในช่วงเย็นวันที่ 13 มกราคม 2568 แอปพลิเคชัน Fineasy ได้ออกประกาศภายในแอปฯ เพื่อระงับการให้บริการแล้วเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2568 เป็นต้นไป โทรศัพท์ใหม่ที่ยังไม่ได้แก้ไขปัญหาการติดตั้งแอป Fineasy ล่วงหน้าจะไม่ถูกจำหน่ายอีกต่อไป
- ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคมเป็นต้นไป จะหยุดการติดตั้งแอปฯ ล่วงหน้าของแอปฯ สินเชื่อของบุคคลที่สามทั้งหมดในอุปกรณ์ของ OPPO
- ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนจะได้รับการอัปเดต OTA (Over-the-Air) ซึ่งเป็นเวอร์ชันระบบใหม่ที่ไม่มีการติดตั้งแอปฯ Fineasy อีกต่อไป
ทั้งนี้ OPPO มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานที่ดีเยี่ยมเพื่อผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และยินดีให้ความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภค
สภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) เสนอแนวทางคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมเร่งหน่วยงานดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเบื้องต้น 6 ประเด็น ได้แก่
1. สภาผู้บริโภคเสนอแนะให้บริโภคคืนเงินต้นแล้วปิดหนี้ ยกเลิกการเป็นหนี้สิน ส่วนผู้บริโภคใครจ่ายเงินเกิน เช่น มีผู้ร้องเรียนกู้เงิน 80,000 บาท จ่ายเงินไป 700,000 บาท สามารถฟ้องร้องเรียกเงินคืน ตามกฎหมาย สภาผู้บริโภค พร้อมฟ้องคดีกลุ่มให้คืนเงินกับผู้เสียหายทุกราย รบกวนแจ้งสายด่วน 1502 ขอให้บริษัท OPPO และ Realme เปิดเผยบริษัทที่ให้บริการเงินกู้โดยด่วนเพื่อรับผิดชอบเรื่องนี้
2. สินเชื่อความสุข และ Fineasy เป็นที่ชัดเจนว่า ไม่ได้รับอนุญาตจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่ยังไม่มีคำตอบว่า ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังหรือไม่ โดยสามารถให้กู้ยืมได้แต่ต้องคิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 หากได้รับอนุญาตสามารถคิดดอกเบี้ยได้ร้อยละ 25 หรือสูงสุดถึง ร้อยละ 36 ซึ่งขอให้กระทรวงการคลัง แจ้งว่าเป็นสินเชื่อออนไลน์ที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ และมีความผิดเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราหรือไม่
3. มือถือ oppo และ realme เข้าข่ายละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหรือไม่ สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ต้องดำเนินการตรวจสอบและเปรียบเทียบปรับทางปกครองกับบริษัทโดยด่วน ผู้เสียหาย ประชาชนผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
4. กสทช. ขอให้หยุดจำหน่ายมือถือรุ่นที่เป็นปัญหา 3 วัน แต่กสทช.ดูเรื่องความปลอดภัยซึ่งต้องตอบคำถามว่า เข้าข่ายเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม พ.ศ.2566 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ตาม ข้อ 14 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทั้งทางด้านเทคนิคและการจัดการภายในองค์กรในรูปแบบที่เหมาะสม
5. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคต้องเปรียบเทียบปรับ การปล่อยกู้ออนไลน์ที่ไม่ได้มีการส่งมอบคู่สัญญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค 2522 กรณีละ 2 แสนบาทตามกฎหมาย
6. สินเชื่อความสุขและFineasy น่าจะเข้าข่ายกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ ที่ผิดกฎหมายเพราะติดตามหนี้กับญาติ หรือเพื่อน ซึ่งมีความผิดตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยต้องเข้ามาจัดการตามกฎหมาย