ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เมื่อเวลา 07.00 น. ตรวจวัดได้ 29.8-53.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ซึ่งพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 43 พื้นที่ โดยปริมาณ PM2.5 สูงสุด 10 พื้นที่ ได้แก่
- เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 53.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลนคราภิบาล : มีค่าเท่ากับ 53.2 มคก./ลบ.ม.
- เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 52.0 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 50.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 49.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 48.7 มคก./ลบ.ม.
- เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 48.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 48.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 47.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 45.9 มคก./ลบ.ม.
โดยในช่วงวันที่ 27-28 ม.ค.68 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ "ดี" แต่ยังเกิดอินเวอร์ชั่นใกล้ผิวพื้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มลพิษทางอากาศแพร่กระจายได้อย่างจำกัด คาดว่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลงในช่วง 1-2 วัน หลังจากนั้นจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร, จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ส่วนกลุ่มเสี่ยงให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร และเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์