เมื่อ 28 มี.ค.68 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมาขนาด 7.7 แมกติจูดทางตอนกลางของประเทศได้ลามมาถึงประเทศไทย อาคารสูง คอนโดมเนียมต่างก็ได้รับแรงสั่นสะเทือนไปด้วยและยังมีอาฟเตอร์ช็อกอีก แล้วเหตุการณ์นี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทย วันนี้ รายการ "Hot Issue" สัมภาษณ์ อ.ชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ [TEAMG] ในฐานะนายกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย
อ.ชวลิต กล่าวว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ที่ศูนย์กลางมาจากเมียนมา เป็นลักษณะคลื่นสั้นที่เข้ามายังประเทสไทย แม้ว่าจะห่างจากกรุงเทพ แต่เนื่องจากสภาพดินอ่อนของกรุงเทพ และอีก 6 จังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ทำให้รับรู้แรงสั่นสะเทือนเป็นวงกว้าง และมีผลต่ออาคารสูงเกิน 9 ชั้นขึ้นไปกลายเป็นโซนอันตราย โดยทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ทยอยเข้าตรวจสอบความปลอดภัยอาคารสูงทุกแห่งแล้ว
สำหรับอาคารเก่าที่ออกแบบและสร้างก่อนปี 54 ก่อนจะมีข้อกำหนดให้ออกแบบรองรับการเกิดแผ่นดินไหวนั้น เท่าที่เห็นอาคารเก่าก็มีโครงสร้างแข็งแรง แต่เป็นห่วงอาคารห้องแถวที่มีความสูงต่ำกว่า 8 ชั้นลงไปและเป็นอาคารที่ก่อสร้างมานาน ซึ่งอนาคตที่อาจเจอแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวแบบคลื่นยาว จึงแนะให้มาสำรวจอาคารห้องแถวเก่าๆ เป็นกรณีพิเศษ
ขณะที่โครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ทางด่วน มอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้ายกระดับ รถไฟฟ้าใต้ดิน ไม่น่าเป็นห่วง เพราะได้มีการออกแบบโครงสร้างให้รองรับการเกิดแผ่นดินไหวได้ดีอยู่แล้ว
ทั้งนี้ อ.ชวลิต กล่าวทิ้งท้ายว่า รัฐบาลควรจะพิจาณราติดตั้งสถานีวัดแรงแผ่นดินไหว ตามสถานที่สำคัญ ในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวทั้งทางเหนือ ภาคตะวันตกของประเทศไทย เพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว
https://youtu.be/jBR62L_G8aw