UNEP ชี้แหล่งน้ำปนเปื้อนและมลพิษทางน้ำคร่าชีวิตประชาชนมากกว่าสงคราม

ข่าวต่างประเทศ Tuesday March 23, 2010 14:58 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

รายงานซึ่งจัดทำโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ระบุว่า น้ำที่ปนเปื้อนและมีมลพิษนั้นคร่าชีวิตประชาชนมากกว่าความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมถึงสงคราม พร้อมกับเรียกร้องให้นานาประเทศเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 นั้น โลกต้องเผชิญกับวิกฤตน้ำทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพของน้ำซึ่งเกิดขึ้นเพราะจำนวนประชากรที่ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรม กระบวนการผลิตอาหาร มาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูงขึ้น รวมทั้งยุทธศาสตร์การใช้น้ำที่จัดว่าอยู่ในระดับที่แย่ ดังนั้น การบริหารน้ำทิ้งหรือน้ำเสียจึงเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารที่ตั้งอยู่บนระบบนิเวศน์และแบบองค์รวมที่ควรจะมีอยู่ในทุกภูมิภาค ซึ่งรวมถึงน้ำจืดและน้ำทะเล

น้ำเสียในที่นี้คือ น้ำที่ชะเอาปุ๋ยออกมา น้ำทิ้ง และสิ่งปฏิกูลในภาคอุตสากรรม การเกษตร และปศุสัตว์

รายงานของยูเอ็นระบุว่า 90% ของน้ำเสียในแต่ละวันในประเทศที่กำลังพัฒนาไม่ได้มีการนำไปบำบัดก่อนทิ้งแต่อย่างใด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2.2 ล้านคนต่อปีด้วยโรคอหิวาต์เพราะการดื่มน้ำที่สกปรกและระบบสุขอนามัยที่อยู่ในระดับต่ำ เด็กเล็กอย่างน้อยๆ 1.8 ล้านคนต้องเสียชีวิตมากกว่า 5 คนในทุกๆปีจากโรคที่เกี่ยวกับน้ำ แต่ด้วยการบำบัดที่เหมาะสม น้ำเสียสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารเคมีที่ปนเปื้อนในน้ำเสียอย่างไนโตรเจนและฟอสฟอรัสนั้น สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยในภาคการเกษตรได้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ