นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ว่า ขณะนี้รัฐบาลเร่งเดินหน้าการปฎิรูปประเทศไทย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากแผนปรองดอง โดยหัวใจสำคัญคือแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยมีภารกิจเร่งด่วน 5 ด้าน และเรื่องที่ต้องเร่งรัด 3 เรื่องคือ ปัญหาค่าครองชีพ เศรษฐกิจนอกระบบ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งได้ใช้รูปแบบการทำงานแบบใหม่ และเกี่ยวข้องหลายกระทรวง จึงจะมีการเข้าค่าย เชิญผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานต่างๆ ทำงานร่วมกันต่อเนื่อง โดยใช้เวลาร่วมกันเกือบ 1 เดือน ทำมาได้ครึ่งทางพบว่ามีความก้าวหน้ามาก
โดยปัญหาค่าครองชีพ คือ พลังงาน และ อาหาร ซึ่งด้านพลังงานมีปัญหาเฉพาะหน้าช่วงสัปดาห์ที่ผานมาที่น้ำมันดิบสูงขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลทะลุ 30 บาท/ลิตร เบื้องต้นรัฐบาลได้แก้ปัญหาโดยลดส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 15 สตางค์/ลิตร จากที่จัดเก็บเข้า 65 สตางค์/ลิตร และมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลังหาแนวทางดำเนินการต่อไป เพราะต้นทุนด้านขนส่ง ที่จะลุกลามไปถึงราคาสินค้าและบริการ
และจากาการพิจารณานโยบายพลังงานภาพรวม ซึ่งไทยเป็นเจ้าของแหล่งพลังงาน คือก๊าซธรรมชาติ แต่ไม่มีการบริหารให้เหมือนเป็นของประชาชน แต่แนวคิดหลังการปฎิรูปประเทศไทยจะมีการปรับเปลี่ยนและนำไปสู่การลดภาระประชาชน ตั้งแต่ก๊าซหุงต้ม ปัจจุบันใช้ระบบตรึงราคา ซึ่งเงินอุดหนุนเก็บจากผู้ใช้น้ำมัน ซึ่งมีแรงกดดันให้ปรับราคาก๊าซหุงต้มให้สดคล้องราคาตลาด ดังนั้นเบื้องต้นมีข้อสรุปว่าจะมีการแยกตลาด จากก๊าซหุงต้มใช้ในครัวเรือน ขนส่ง ออกจากอุตสาหกรรม โดยไม่ต้องใช้เงินอุดหนุนจากน้ำมัน แต่ให้ภาคอุตสาหกรรม จ่ายราคาก๊าซตามกลไกตลาด ซึ่งจะลดเงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน เพื่อนำส่วนนี้ไปช่วยลดราคาน้ำมันได้
ส่วนค่าไฟฟ้าจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างค่าไฟ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้น้อยได้ใช้ฟรี ไม่ต้องนำภาษีประชาชนมารับภาระ แต่จะเพิ่มค่าไฟจากผู้ใช้ไฟมาก ซึ่งในต่างประเทศมีวิธีการเก็บค่าไฟ โดยผู้ใช้ไฟมากจะจ่ายค่าไฟสูงกว่าคนใช้น้อย ซึ่งสมเหตุสมผลเพราะคนใช้ไฟน้อย มี 8-9 ล้านครัวเรือน ทำให้รัฐไม่ต้องจัดหาไฟฟ้าเพิ่ม แต่คนใช้ไฟมาก ทำให้รัฐต้องลงทุนจัดหาไฟฟ้า คนใช้ไฟน้อยจะใช้ไฟ 90 หน่วย ใช้ฟรีต่อไป แต่เปลี่ยนจากใช้เงินภาษี มาเปลี่ยนเป็นโครงสร้างค่าไฟ
นอกจากนี้ ค่าภาคหลวง ค่าสัมปทานต่างๆ เดิมส่งเข้าคลัง และโครงสร้างการจัดเก็บจะทำสัญญาระยะยาว และเป็นช่วงที่ราคาน้ำมัน ก๊าซไม่ได้อยู่ระดับปัจจุบัน ทำให้ผู้รับสัมปทานได้ประโยชน์ จะพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรม และจะมีการแบ่งค่าภาคหลวง ค่าสัมปทานเป็นกองทุนดูแลการสนับสนุนด้านพลังงาน
โครงสร้างต้นทุนด้านอาหาร ราคาไข่ ไก่เนื้อ หมู หลังศึกษาทำงานกับทุกหน่วยงานพบว่าระยะกลาง-ยาว ต้องดูแลให้มีการข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า แต่ปัจจุบันยังมีความไม่เป็นธรรมของโครงสร้างการแข่งขัน จากต้นทุนอาหารสัตว์ และผู้ผลิตรายย่อยมีภาระต้นทุนสูง และนำไปสู่การผลักภาระราคาที่สูง จะส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมและให้ผู้ค้ารายย่อยรวมตัว มีอำนาจต่อรองดีขึ้น ปรับปรุงการผลิต ลดตุ้นทุน นำไปสู่รายได้ดีขึ้น ช่วยลดราคาสินค้าได้ ส่วนปัญหาพ่อพันธุ์แม่พันธ์ จะมีการเปิดเสรี และมีข้อเสนอว่าต้นทุนไข่ที่สูงขึ้นมาจากการขายไข่ตามขนาด ซึ่งมีต้นทุนจากการแยกแยะขนาด จึงมีข้อเสนอหากผู้บริโคภซื้อไข่คละขนาดจะช่วยลดต้นุทนราคาไข่ได้ 10-20 สต./ฟอง
ส่วนเศรษฐกิจนอกระบบ เริ่มมีข้อเสนอและการผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มคนประกอบอาชีพสุจริต แต่ถูกรีดไถจากผู้มีอิทธิพล โดยเน้น 3 กลุ่ม คือ ผู้ขับขี่รถจักรยานยน์รับจ้าง คนขับรถแท็กซี่และหาบแร่แผงลอย
โดยจักรยานยนต์รับจ้างจะเปิดการจดทะเบียนใหม่ ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกันหมด ทั้งเสื้อวิน ทะเบียน ชื่อ เพื่อให้สอดคล้องกัน ให้ผู้ประกอบอาชีพเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น มีเป้าหมายเพิ่มรายได้ให้ผู้ขับขี่ได้ และนำไปสู่การลดราคาบริการ ลดปัญหารีดไถ พื้นที่ซับซ้อน
แท็กซี่ พบว่ามีปัญหาที่จอดรถรับผู้โดยสาร มีการเรียกเก็บเงิน ซึ่งเป็นต้นทุน และพบว่าปริมาณแท็กซี่ จากปัญหามาตรฐาน อายุรถ จึงเกิดการแข่งขันกันเอง จึงจะเร่งแก้ปัญหาจัดระบบที่จอดรถ ทำโครงการพิเศษ เช่น แท็กซี่ วีไอพี และจัดโครงการให้ผ่อนรถแท็กซี่ได้ต่ำกว่าค่าเช่า มีตลาดรถแท็กซี่ เข้าถึงแหล่งเงินกู้
หาบเร่งแผงลอย จะมีการปรับจุดการค้าผ่อนผัน ปรับระเบียบ เพื่อให้มีการประกอบอาชีพมั่นคง แต่การค้าขายต้องไม่กระทบ สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนโดยรวม นอกจากนี้ ทั้ง 3 กลุ่ม จะจัดให้มีระบบสวัสดิการในระบบประกันสังคม โดยจ่ายเงินเพียง 100 บาท ซึ่งอาจเข้ากองทุนเงินออมแห่งชาติ หรือสวัสดิการชุมชน
ส่วนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พบว่า กลุ่มคนทำงานกลางคืน มีปัญหาความปลอดภัย ซึ่งมีการทำงานอย่างละเอียด พบว่ามีบางจุดไม่ปลอดภัย เช่นเขตห้วยขวาง จึงจะมีเครือข่ายติดตั้งกล้องวงจรปิด มีอาสาสมัครด่านความปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แนวทางทั้งหมดจะมีความชีดเจนในวันที่ 17 ธ.ค.นี้