เอแบคโพลล์ เผยประชาชนส่วนใหญ่ 74.9% เชื่อมั่นในความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ความซื่อสัตย์สุจริต แต่ยังมีจุดด้อยในเรื่องความรวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน และความเป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
"สาธารณชนได้มองความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพิ่มสูงขึ้นในทุกตัวชี้วัด แต่ที่ต่ำกว่าครึ่งมีอยู่สองด้านคือ ความรวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน และความเป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีตัวชี้วัดบางตัวดูจะไม่แตกต่างไปจากการสำรวจครั้งก่อน คือ การแต่งตั้งโยกย้ายที่ต้องยึดหลักคุณธรรม กับเรื่องของการเข้าถึงจิตใจของประชาชนได้ทุกระดับชั้น ซึ่งต้องรอพิสูจน์ฝีมือการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีในอนาคต" นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ระบุในเอกสารเผยแพร่
โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 74.9 ระบุนายกรัฐมนตรีมีจุดแข็งด้านความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือร้อยละ 74.1 ระบุสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี, ร้อยละ 72.0 ระบุมีความเคร่งครัดต่อหลักศีลธรรม, ร้อยละ 71.7 ระบุเห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าพวกพ้องและคนใกล้ชิด, ร้อยละ 71.2 ระบุเป็นที่ไว้วางใจได้ของประชาชน, ร้อยละ 70.5 ระบุนายกรัฐมนตรีมีเสน่ห์ดึงดูดจิตใจ น่าเลื่อมใสศรัทธา, ร้อยละ 69.1 ระบุไม่ทอดทิ้งชาวบ้านเมื่อได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 68.9 ระบุมีความเป็นประชาธิปไตย
เมื่อเปรียบเทียบตัวชี้วัดความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีจากการสำรวจในช่วงปี 52 กับปี 53 พบว่าตัวชี้วัดด้านความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีเพิ่มขึ้นในทุกตัวชี้วัด โดยด้านความซื่อสัตย์สุจริตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 68.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 74.9, ด้านการควบคุมอารมณ์ได้ดีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 73.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 74.1, ด้านความเคร่งครัดต่อหลักศีลธรรม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 71.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 72.0, ด้านเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าพวกพ้องและคนใกล้ชิดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 65.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 71.7,
ด้านมีเสน่ห์ ดึงดูดจิตใจน่าเลื่อมใสศรัทธาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 70.5, ด้านการไม่ทอดทิ้งชาวบ้านเมื่อได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 69.1, ด้านความเป็นนักประชาธิปไตย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 68.9, ด้านการให้เกียรติแกนนำรัฐบาลด้วยกัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือร้อยละ 68.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 68.9, ด้านการเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 65.5,
ด้านความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 63.5, ด้านการสื่อสารได้ดีกับนานาประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 47.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 62.6, ด้านการสื่อสารได้ดีกับประชาชนภายในประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 60.4, ด้านการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการยึดหลักคุณธรรม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 54.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 54.8, ด้านการเข้าถึงจิตใจของประชาชนได้ทุกระดับชั้น เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 51.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 51.8, ด้านการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 51.0
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่ามีตัวชี้วัดที่เพิ่มขึ้นแต่ยังต่ำกว่าครึ่งคือ ความรวดเร็วฉับไวแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน เพิ่มจากร้อยละ 37.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 48.7 และด้านความเป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 40.6
สำหรับความต้องการเร่งด่วนที่ประชาชนอยากให้นายกรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหาเศรษฐกิจ พบว่า ร้อยละ 78.9 ระบปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ, ร้อยละ 78.7 ระบุการปฏิรูปที่ดินให้เกษตรกรอย่างแท้จริง ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกร, ร้อยละ 75.3 ระบุปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม หลายมาตรฐาน เลือกปฏิบัติ รองๆ ลงไปคือ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาอาชญกรรม ปัญหยาเสพติด ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ประสบภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยหนาว ปัญหาการประกันรายได้เกษตรกร ปัญหาการดูแลสวัสดิการกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาหนี้นอกระบบ คุณภาพการศึกษา คุณภาพเด็กและเยาวชน เป็นต้น
ทั้งนี้ เอแบคโพลล์ ได้ทำการสำรวจเรื่อง เปรียบเทียบภาวะความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระหว่างปี พ.ศ.2552 กับปี พ.ศ.2553 จากประชาชนใน 17 จังหวัด จำนวน 2,381 ครัวเรือน ช่วงระหว่างวันที่ 1-14 ธ.ค.ที่ผ่านมา