นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี กล่าวภายหลังเดินทางเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง คือ แนวทางการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขสถานการณ์ให้คลี่คลาย และการผลักดันกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับชาวมุสลิมให้สอดคล้องกับการดำเนินวิถีชีวิต
สำหรับปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้นั้น ยอมรับว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ดูเหมือนจะกลับมาเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาปกติที่มักจะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ในช่วงต้นปี พร้อมทั้งระบุว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ควรจะต้องให้การศึกษาแก่เยาวชนอย่างทั่วถึง เพราะถือเป็นหัวใจหลักในการแก้ไขปัญหา
"ในช่วงต้นปีก็รู้สึกว่ามีความรุนแรงมากขึ้น แต่ก็เป็นอย่างนี้มาโดยตลอด และมันก็จะเบาบางลงในช่วงหนึ่ง"จุฬาราชนมนตรี กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนตัวในฐานะที่เป็นผู้นำศาสนาก็รู้สึกหนักใจปัญหาที่เกิดขึ้น และได้แสดงความเสียใจกับประชาชนที่สูญเสียภายในพื้นที่ พร้อมทั้งยืนยันว่า ผู้นำศาสนาทุกคนก็รู้สึกหนักใจและเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่มีผู้นำศาสนาคนใดเป็นผู้ชี้นำให้เยาวชนหรือคนในพื้นที่ก่อเหตุรุนแรง เพราะหลักคิดของศาสนาอิสลามไม่ได้มีแนวความคิดในเรื่องนี้แต่อย่างใด
ส่วนการทำงานของเจ้าหน้าที่มองว่า หลักการของรัฐบาลที่ยึดสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา อยากให้ฝ่ายปฏิบัติในพื้นที่ก็ควรจะยึดเป็นแนวทางปฏิบัติด้วย
จุฬาราชมนตรี กล่าวต่อว่า ในการเข้าพบนายกรัฐมนตรีในวันนี้ ผู้นำศาสนาได้มีการหารือปัญหาการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ยังมีปัญหาอยู่ โดยหลังจากได้มีการเข้าพบนายกรัฐมนตรีแล้วก็จะเดินทางไปพบกับรมว.วัฒนธรรมถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์
ส่วนเรื่องการผลักดันกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับชาวมุสลิมให้สอดคล้องกับการดำเนินวิถีชีวิตนั้น อยากให้รัฐบาลช่วยผลักดันกฎหมายครอบครัวมรดก ซึ่งอยากให้คณะกรรมการกฤษฎีช่วยเร่งผลักดันกฎหมายฉบับนี้ด้วย เพราะหากกฎหมายนี้สามารถดำเนินการได้ก็อยากให้ขยายไปยังพื้นที่อื่นนอกเหนือจากพื้นที่