(เพิ่มเติม) นายกฯรับเหนื่อยสู้น้ำท่วมแต่ไม่ท้อ/ชงแผนฟื้นฟูเยียวยาเข้า ครม.อังคารนี้

ข่าวการเมือง Saturday November 5, 2011 10:56 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ"รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน"เช้านี้ โดยยอมรับว่ารู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมแต่ไม่ย่อท้อ โดยจะมุ่งหน้าแก้ไขปัญหาต่อไป ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 8 พ.ย.นี้จะเสนอให้พิจารณาอนุมัติมาตรการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยด้วยการใช้งบประมาณ 1 แสนล้านบาท และหลังจัดรายการเสร็จจะเดินทางไปการดำเนินการฟื้นฟูสภาพที่ จ.นครสวรรค์

" ยอมรับว่าการดำเนินการเหนื่อยจริงๆ แต่ไม่ท้อ ขอเพียงแค่ให้ปนระชาชนเข้าใจและจะตั้งใจทำงานเต็มที่" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูที่จะเสนอ ครม.ให้พิจารณาวันอังคารนี้จะครอบคลุมทุกด้าน โดยจะเร่งดำเนินการฟื้นฟูสภาพบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โรงพยาบาล ถนนหนทาง นิคมอุตสาหกรรม และแนวทางการแก้ไขปัญหาครั้งนี้จะยึดภาพรวมผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลักภายใต้กรอบของกฏหมาย โดยไม่ยอมให้ใครมาขัดขวาง

"หากทุกคนไม่มองถึงผลประโยชน์ส่วนรวม มองแต่ประโยชน์ส่วนตนจะทำให้บ้านเมืองเสียหาย รัฐบาลพยายามดูแลผลประโยชน์บ้านเมืองภายใต้กรอบขอบกฎหมาย โดยไม่ยอมให้ใครมาขัดขวาง" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

ส่วนในระยะยาวจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทุกฝ่ายเข้ามาร่วมวางมาตรการฟื้นฟูพัฒนาประเทศและการป้องกันผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างผังเมือง การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เป็นต้น

"รัฐบาลยินดีรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนที่จะทำให้ประเทศเกิดความเข้มแข็ง และขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจฝันฟ่าวิกฤติครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้ในที่สุด" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

แนวทางที่จะดำเนินต่อไปนั้น ขณะนี้คณะนักวิชาการได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อลดผลกระทบท่วมตะวันตกและตะวันออก ด้วยการหยุดน้ำไหล่บ่าทางเหนือ โดยสร้างคันกั้นน้ำยาว 6 กิโลเมตร หรือบิ๊กแบก ซึ่งเสร็จสิ้นแล้วเหลือเพียงการนำกระสอบทรายมาอุดรั่วแนวคันกั้นน้ำ ซึ่งหลังจากนั้นจะเร่งสูบน้ำเพื่อไม่ให้ กทม.ท่วมขัง คาดว่าใช้เวลา 1-2 สัปดาห์

ส่วนคลองหกวาสายล่างได้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 17 เครื่องเพื่อระบายน้ำออกไปทางคลอง 13 เพื่อระบายน้ำลงคลองพระยาไชยานุชิตอย่างเร่งด่วนแล้ว

ส่วนการกำจัดสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำในคลองบางเขน คลองลาดพร้าว คลองแสนแสบนั้นมีกองทัพเข้ามาช่วยดูแล โดยเฉพาะในสัปดาห์หน้าจะมีน้ำทะเลหนุน เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ 500 นายจะเข้าไปเสริมแนวคันกั้นนำแนวถนนหทัยราษฏร์ ข้ามทางด่วนบางนา-บางปะอิน เพื่อป้องกันน้ำไหลแนวชั้นใน กทม. ตามที่สำนักระบายบน้ำร้องของ กทม.ร้องขอ

ขณะเดียวกันกรมชลประทานจะบริหารน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ผ่านประตูระบายบรมธาตุ ประตูระบายพลเทพ โดยคาดว่าภายใน 12 พ.ย จะเร่งระบายน้ำให้ได้วันละ 60 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน และอุดรอยรั่วตามแนวคันกั้นน้ำ 14 จุดเกิดขึ้นกอ่นไม่เคยซ่อมแซม คาดว่าจะเสร็จในวันที่ 13 พ.ย. และระบายน้ำที่ท่วมในพื้นที่ จ.นนทบุรี ออกทางแม่น้ำท่าจีนคาดว่าตั้งแต่กกลางเดือน พ.ย. ปริมาณน้ำจะลดลง

"มาตรการแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งตะวันตก และตะวันออกของ กทม.นั้น ต้องย้ำว่าเป็นความเห็นตรงกันทั้งฝ่ายวิชาการร และทีมปฏิบัติ กทม. ที่ต้องเร่งดำเนินการ และให้กระทรวงมหาดไทยสื่อสารกับมวลชนเพื่อดำเนินการอย่างเคร่งครัด ขอร้องอย่าทำลายคันกั้นน้ำ ขโมยทรัพย์สิน จะดำเนินการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อให้สำเร็จตามที่มอบหมาย" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กทม. กรมชลประทาน และคณะนักวิชาการยืนยันว่าหากดำเนินการตามแผนจะสามารถรักษาฝั่งตะวันออกไว้ได้ โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจแม้จะมีท่วมขังบ้างแต่ระบายน้ำได้เร็ว แต่ฝั่งตะวันตกด้วยระบบระบายน้ำ คลองที่มีจำกัด ทำให้การระบายน้ำล่าช้า จึงขอให้อดทน แต่สัญญาจะเร่งดำเนินการและหาทางแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ยังพบปัญหาเครื่องมือที่ใช้ ทั้งเครื่องสูบน้ำที่ใช้งานตลอด 24 ชั่วโมงเริ่มเสียหาย

"หากดำเนินการได้ตามแผนงานที่วางไว้จะรักษาพื้นที่ฝั่งตะวันออกไว้ได้และน้ำท่วมในระยะสั้น ส่วนฝั่งตะวันตกมีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำอาจล่าช้ากว่า 1-2 สัปดาห์" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การระบายยึดหลักการบริหารน้ำภาพรวมทั้งระบบ โดยการชะลอระบายน้ำและเร่งระบาย โดยทั้ง กทม. ร่วมกับคณะทำงานนักวิชาการ กรมชลประทาน ทำงานกันอย่างใกล้ชิด โดยมีการประชุมร่วมกันทุกวัน คณะทำงาน ประกอบด้วย นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม., นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม., กองทัพ และส่วนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งเป็นคณะทำงานจัดการบริหารเขตสาธารณะภัยร้ายแรง โดยคณะทำงานดังกล่าวมีอำนาจในการสั่งการในพื้นที่ และถือเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน และมอบหมายให้กรมชลประทาน และ กทม.ตัดสินใจในด้านเทคนิค โดยยึดหลักการลดความเสียหายพื้นที่เศรษฐกิจและผลกระทบกับชุมชน

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้จะวางหลักการการทำงาน แต่ในทางปฏิบัติก็มีปัญหาในการดำเนินการทั้งสิ้น เช่น เทคนิคต่างๆ เพราะว่าธรรมชาติของน้ำไหลบ่าจากที่สูงลงสู่ต่ำ แม้จะสร้างกำแพงกั้น แต่มวลน้ำที่มหาศาลก็ทำให้คันกั้นน้ำรั่วซึมตลอดเวลา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ