สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากทั้งกลุ่มที่ต้องการให้แก้ไข กลุ่มที่ไม่ต้องการให้แก้ไข และกลุ่มที่เห็นว่าแก้ไขหรือไม่แก้ไขก็ได้ โดยกระจายตามภูมิภาคต่างๆของประเทศ เพื่อจะได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ จำนวน 2,118 คน ระหว่างวันที่ 28 ก.พ.- 3 มี.ค. 2555 สรุปได้ดังนี้
1. “ความวิตกกังวล" ของประชาชนเกี่ยวกับ “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
อันดับ 1 มีความวิตกกังวล 63.87% เรื่อง ความขัดแย้งและการกระทบกระทั่งกันของกลุ่มต่างๆ ,การขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญของประชาชน ,ความโปร่งใส ของกระบวนการดำเนินงานในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ,มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่มีความวิตกกังวล 36.13% เพราะเชื่อมั่นในกระบวนการพิจารณาของคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ,เป็นเรื่องปกติทางการเมืองที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง , มีหลายฝ่ายที่เฝ้าติดตามและให้ความสนใจในเรื่องนี้อยู่ ฯลฯ
2. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากบอก “ผู้ที่สนับสนุน" ให้มี “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ในครั้งนี้
อันดับ 1 ขอให้ผู้ที่สนับสนุนให้มีการแก้ไขรธน.ในครั้งนี้คำนึงถึงประโยชน์ของบ้านเมืองและส่วนรวมเป็นสำคัญ 53.88%อันดับ 2 ควรจะต้องมีการศึกษาและมีความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ มีการกลั่นกรอง พิจารณาไตร่ตรองด้วยตนเอง /ไม่หลงเชื่อหรือถูกชี้นำจากคนอื่น 21.14%อันดับ 3 เป็นสิทธส่วนบุคคลที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือต้องการแสดงออกทางการเมือง แต่ควรอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม /ไม่ใช้ความรุนแรงหรือการกระทำที่ไม่เหมาะสม 13.75%อันดับ 4 การตัดสินใจหรือการแสดงความคิดเห็นควรอยู่บนพื้นฐานความถูกต้อง ยุติธรรม 11.23%
3. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากบอก “ผู้ที่คัดค้าน" “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ในครั้งนี้
อันดับ 1 รับฟังข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ /ใช้เหตุผลในการพิจารณาไตร่ตรองข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆอย่างรอบคอบ 35.12%อันดับ 2 ขอให้นึกถึงส่วนรวม ประเทศชาติและคนไทยเป็นสำคัญ /กฎหมายรัฐธรรมนูญมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับคนไทยทุกคน 30.88%อันดับ 3 การแสดงออกที่เหมาะสม ไม่ใช้กำลังหรือความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุ /ควรชี้แจงเหตุผลที่คัดค้านให้สังคมได้รับรู้ 23.71%อันดับ 4 มีการตรวจสอบข้อมูล หลักฐาน หรือข้อเท็จจริงและกระบวนการขั้นตอนต่างๆของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ละเอียด ชัดเจน 10.29%
4. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากบอก “คณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญ"
อันดับ 1 การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะต้องยึดหลักความถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม /คณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกคนจะต้องยึดหลักคุณธรรมและเป็นกลาง 50.52%อันดับ 2 คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวมเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น และรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน 23.81%อันดับ 3 ต้องมีการชี้แจงให้ประชาชนรับทราบและสร้างความเข้าใจในเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้อง 16.97%อันดับ 4 มีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน ไม่ถูกแทรกแซงหรือถูกครอบงำจากนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล 8.70%
5. ประชาชนคิดว่าจะ “แก้ไขรัฐธรรมนูญ" อย่างไร? จึงจะไม่เกิดความขัดแย้ง
อันดับ 1 เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น /ทำประชาพิจารณ์หรือประชามติ เพื่อฟังเสียงส่วนใหญ่จากประชาชนตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายที่ระบุไว้ 43.27%อันดับ 2 ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ รัฐธรรมนูญมีความสำคัญและเป็นของคนไทย ทุกคน ถ้ามีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงก็ควรแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ไม่ใช่เพื่อทำลาย 27.93%อันดับ 3 การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้อง /ชี้แจงเหตุผล ความสำคัญ หรือความจำเป็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 17.01%อันดับ 4 ทุกคนต้องมีสติ มีวิจารณญาณ ยึดหลักความถูกต้อง เป็นธรรม /ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา 7.14%อันดับ 5 สื่อมวลชนนำเสนอข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ให้ความรู้ในเรื่องรัฐธรรมนูญในแง่มุมต่างๆที่หลากหลาย 4.65%