สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดทำดัชนีการเมืองไทย โดยมีตัวชี้วัดรวม 25 ประเด็น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่จะบอกได้ว่าการเมืองไทยดีขึ้น แย่ลง หรือเหมือนเดิมในแต่ละเดือน โดยเปรียบเทียบเดือนต่อเดือน จากคะแนนเต็ม 10 และหาค่าเฉลี่ยภาพรวมของการเมืองไทยออกมา ซึ่งในเดือนเมษายนนี้ได้สำรวจดัชนีการเมืองดังกล่าวจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 7,213 คน ระหว่างวันที่ 25-30 เม.ย. 2555 พบว่าประชาชนให้คะแนนดัชนีการเมืองไทย ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 5.12 คะแนน ต่ำกว่าเดือนมีนาคม 2555 ที่มีภาพรวมคะแนนดัชนีการเมืองไทย ร้อยละ 5.23 แต่ยังมากกว่าเดือนตุลาคม 2554 ที่ได้คะแนนต่ำที่สุดร้อยละ 4.44
สำหรับคะแนนตัวชี้วัดดัชนีการเมืองไทยในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ผลงานของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 6.04 มากกว่าเดือนก่อน (มีนาคม 2555) ที่ได้คะแนนร้อยละ 5.90 รองลงมาคือ ข่าวสารที่เผยแพร่จากสื่อต่างๆให้ประชาชนได้รับรู้ ร้อยละ 5.76, ผลงานของรัฐบาล ร้อยละ 5.68, การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ ร้อยละ 5.54, การจัดการศึกษาสำหรับประชาชน ร้อยละ 5.52, การแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 5.37 การแก้ปัญหาต่างๆของรัฐบาลในภาพรวม ร้อยละ 5.35, การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ร้อยละ 5.34, การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน ร้อยละ 5.33, การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรอิสระ ร้อยละ 5.32, การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม ร้อยละ 5.29, จริยธรรม /วัฒนธรรมของคนในชาติ ร้อยละ 5.24, สภาพของสังคมโดยรวม ร้อยละ 5.16, ค่าครองชีพ /เงินเดือน /ค่าจ้าง /สวัสดิการ ร้อยละ 5.12, สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม ร้อยละ 5.11, ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 5.09, ความเป็นอยู่ของประชาชน ร้อยละ 5.05, ความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 5.04
ส่วนคะแนนดัชนีการเมืองไทยที่ยังฉุดและแก้ไม่ตก ซึ่งได้คะแนนไม่ผ่านครึ่ง ได้แก่ การแก้ปัญหาคอรัปชั่น ร้อยละ 4.15 น้อยกว่าเดือนก่อน ที่ได้คะแนนร้อยละ 4.44, การปฏิบัติตนของนักการเมือง/ความสามัคคี ร้อยละ 4.42 น้อยกว่าเดือนก่อนที่ได้คะแนนร้อยละ 4.69, ราคาสินค้า ร้อยละ 4.46 น้อยกว่าเดือนก่อนที่ได้คะแนนร้อยละ 4.57, การแก้ปัญหาความยากจน ร้อยละ 4.52 น้อยกว่าเดือนก่อนที่ได้คะแนนร้อยละ 4.68, การแก้ปัญหาการว่างงาน ร้อยละ 4.54 น้อยกว่าเดือนก่อนที่ได้คะแนนร้อยละ 4.65, การแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 4.57 น้อยกว่าเดือนก่อนที่ได้คะแนนร้อยละ 4.76 และความมั่นคงของประเทศ /การก่อการร้าย ร้อยละ 4.98 น้อยกว่าเดือนก่อนที่ได้คะแนนร้อยละ 5.16 เป็นต้น
สำหรับคะแนนดัชนีการเมืองไทย โดยจำแนกตามภูมิภาค พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้คะแนนมากถึงร้อยละ 5.28 แต่น้อยกว่าเดือนก่อนที่ให้คะแนนร้อยละ 5.74 รองลงมาคือภาคกลาง ให้คะแนนร้อยละ 5.26 แต่น้อยกว่าเดือนก่อนที่ให้คะแนนร้อยละ 5.27, ภาคเหนือ ให้คะแนนร้อยละ 5.25 น้อยกว่าเดือนก่อนให้คะแนนร้อยละ 5.33, กรุงเทพมหานครให้คะแนนร้อยละ 4.95 มากกว่าเดือนก่อนให้คะแนนร้อยละ 4.86 และภาคใต้ให้คะแนนร้อยละ 4.50 มากกว่าเดือนก่อนให้คะแนนร้อยละ 4.30--จบ--