"ความวุ่นวายทางการเมือง โดยเฉพาะม็อบ ฉุดการเมืองไทยต่ำกว่าเดือนที่แล้ว" เอกสารเผยแพร่ ระบุ
โดยตัวชี้วัดที่ได้คะแนนลดลง ได้แก่ ผลงานของนายกรัฐมนตรี 5.87 คะแนน จากเดิม 6.04 คะแนน, ผลงานของรัฐบาล 5.69 คะแนน จากเดิม 5.70 คะแนน, การจัดการศึกษาสำหรับประชาชน 5.61 จากเดิม 5.69 คะแนน, ค่าครองชีพ/เงินเดือน/ค่าจ้าง/สวัสดิการ 5.33 คะแนน จากเดิม 5.39 คะแนน, การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรอิสระ 5.32 คะแนน จากเดิม 5.45 คะแนน, การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า 5.29 คะแนน จากเดิม 5.35 คะแนน, จริยธรรม/วัฒนธรรมของคนในชาติ 5.28 คะแนน จากเดิม 5.53 คะแนน, สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม 5.19 คะแนน จากเดิม 5.30 คะแนน, สภาพของสังคมโดยรวม 5.17 คะแนน จากเดิม 5.32 คะแนน, ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5.10 คะแนน จากเดิม 5.36 คะแนน, ความเป็นอยู่ของประชาชน 5.08 คะแนน จากเดิม 5.38 คะแนน, การแก้ปัญหาต่างๆของรัฐบาลในภาพรวม 5.06 คะแนน จากเดิม 5.19 คะแนน, ความมั่นคงของประเทศ/การก่อการร้าย 5.00 คะแนน จากเดิม 5.08 คะแนน, ความสามัคคีของคนในชาติ 4.70 คะแนน จากเดิม 4.85 คะแนน, การแก้ปัญหาการว่างงาน 4.65 คะแนน จากเดิม 5.11 คะแนน, ราคาสินค้า 4.62 คะแนน จากเดิม 4.96 คะแนน, การแก้ปัญหาความยากจน 4.58 คะแนน จากเดิม 5.00 คะแนน, การแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล 4.51 คะแนน จากเดิม 4.73 คะแนน และการปฏิบัติตนของนักการเมือง/ความสามัคคี 4.50 คะแนน จากเดิม 4.58 คะแนน
สำหรับตัวชี้วัดที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้น 5 รายการ ได้แก่ ข่าวสารที่เผยแพร่จากสื่อต่างๆให้ประชาชนรับรู้ 5.76 คะแนน จากเดิม 5.67 คะแนน, การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน 5.57 คะแนน จากเดิม 5.24 คะแนน, การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม 5.52 คะแนน จากเดิม 5.41 คะแนน, การแก้ปัญหายาเสพติด 5.23 คะแนน จากเดิม 4.68 คะแนน และการแก้ปัญหาคอรัปชั่น 4.27 คะแนน จากเดิม 4.01 คะแนน ส่วนการบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ได้ 5.65 เท่ากับเดือนที่แล้ว
ขณะเดียวกันยังมีตัวชี้วัดที่ยังฉุดดัชนีการเมืองไทยและเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก เนื่องจากได้คะแนนไม่ผ่านครึ่งหนึ่งมากถึง 7 รายการ ได้แก่ การแก้ปัญหาคอรัปชั่น 4.27 คะแนน, การปฏิบัติตนของนักการเมือง/ความสามัคคี 4.50 คะแนน, การแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล 4.51 คะแนน, การแก้ปัญหาความยากจน 4.58 คะแนน, ราคาสินค้า 4.62 คะแนน, การแก้ปัญหาการว่างงาน 4.65 คะแนน และความสามัคคีของคนในชาติ 4.70 คะแนน
ทั้งนี้ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้จัดทำดัชนีการเมืองไทย โดยมีตัวชี้วัดรวม 25 ประเด็น และได้สำรวจดัชนีการเมืองดังกล่าวจากประชาชนทั่วประเทศจำนวน 6,782 คน ระหว่างวันที่ 25-31 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยกลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้คะแนนเพิ่มจาก 5.65 คะแนน เป็น 5.77 คะแนน และภาคใต้ให้คะแนนเพิ่มจาก 3.73 คะแนน เป็น 4.31 คะแนน ส่วนภาคเหนือให้คะแนนลดจาก 5.57 คะแนน เป็น 5.42 คะแนน, ภาคกลางให้คะแนนลดจาก 5.50 คะแนน เป็น 5.32 คะแนน และกรุงเทพฯ ให้คะแนนลดจาก 4.93 คะแนน เป็น 4.39 คะแนน