อีกเพียงแค่ 2 วันก่อนหน้าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนต่อไปจะเปิดฉากขึ้น ประธานาธิบดี บารัค โอบามา และนายมิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งมีคะแนนสูสีกันในผลการสำรวจความคิดเห็นระดับชาติ และผลลัพธ์ของการแข่งขันสามารถเป็นไปได้ทั้งสองทาง บทวิเคราะห์ข่าวจากสำนักข่าวซินหัวชี้ว่า
ความเชื่อมโยงหลักๆ
ผลการสำรวจสดที่เป็นกลางของผู้ดำเนินการสำรวจ 4 รายที่ได้มีการเปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ยิ่งทำให้การแข่งขันดุเดือดร้อนแรง ผลสำรวจล่าสุดของ เอ็นบีซี/วอลล์ สตรีท เจอร์นัล ระบุว่า โอบามา มีคะแนนนำ รอมนีย์ ด้วยคะแนน 48% ต่อ 47% จากการสนับสนุนของผู้ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง ขณะที่ผลสำรวจจาก วอชิงตัน โพสต์-เอบีซี นิวส์ แสดงให้เห็นว่าคะแนนของผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้ง 2 คน อยู่ที่ระดับ 48% ในสายตาของผู้ที่จะลงคะแนนเสียง
สอดคล้องกับผลสำรวจของทั้ง 2 แหล่ง ผลสำรวจการช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของมหาวิทยาลัย โพลิทิคอล/จอร์จ วอชิงตัน ยังทำให้การแข่งขันมีความร้อนแรงยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยผลสำรวจที่ระบุว่า โอบามา และ รอมนีย์ ได้รับคะแนนเสียง 48% เท่ากัน ซีเอ็นเอ็น/โออาร์ซี อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่าผู้สมัครทั้ง 2 คนมีคะแนนอยู่ที่ระดับ 49%
ผลสำรวจของพิว รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ ยังระบุว่า โอบามา มีคะแนน 50% และรอมนีย์ มีคะแนน 47% แต่ก็มีข้อผิดพลาดในการสุ่มตัวอย่างการสำรวจ
จอห์น ฟอร์เทียร์ ผู้อำนวยการโครงการประชาธิปไตยของศูนย์นโยบายพรรค กล่าวว่า “ผมคิดว่ามันเป็นการแข่งขันที่มีคะแนนใกล้กันอย่างไม่น่าเชื่อ เราเคยมีการเลือกตั้งที่ผู้ลงชิงตำแหน่งมีคะแนนใกล้เคียงกัน แต่บ่อยครั้งที่ใกล้เข้าสู่วันเลือกตั้ง เราจะรู้ดีว่าใครมีคะแนนนำ"
การชิงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งนี้นับเป็นประวัติการณ์ที่รอมนีย์มีคะแนนสูงกว่าโอบามา ในการอภิปรายของประธานาธิดีครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ต.ค. จอห์น ฟอร์เทียร์ ระบุว่า “อันที่จริงแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนกระทั่งการอภิปรายรอบแรก ซึ่งผู้คนสามารถจับตาดูเขากับประธานาธิบดี เขาสามารถทำให้ประชาชนประทับใจได้เป็นอย่างดี" ด้วยเหตุนี้ ผู้ชิงตำแหน่งจึงมีคะแนนใกล้เคียงกัน
เหตุผล
จอห์น ฟอร์เทียร์ กล่าวว่า “ทุกคนได้รู้จักประธานาธิบดีแล้ว แต่พวกเขาไม่รู้จัก มิตต์ รอมนีย์ และในการอภิปรายที่เขาทำได้ดีนั้น ทำให้เขาโดดเด่น และมีความสำคัญ ตั้งแต่นั้นมาพวกเขาก็มีคะแนนสูสีกันมาตลอด"
การช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ
เนื่องจากผู้ที่ได้คะแนนเสียงด้านความนิยมจำนวนมากนั้น ไม่จำเป็นต้องคว้าชัยตำแหน่งประธานาธิบดี จนกว่าเขา หรือเธอจะคว้าชัยด้วยคะแนนอิเล็คทอรัล คอลเลจ โวท ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เกิดการโต้เถียงกันว่า การที่ผลสำรวจระดับชาติมีคะแนนใกล้เคียงกันนั้น ไม่ได้หมายความว่าโอบามา และรอมนีย์ จะอยู่ในการแข่งขันที่สูสี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโอบามามีคะแนนนำใน 5 รัฐ จาก 7 รัฐ
จากผลสำรวจของ ซีเอ็นเอ็น ซึ่งคำนวณผลสำรวจการแข่งขันชิงชัยตำแหน่งผู้นำประเทศอย่างน้อย 3 รายการ ระบุว่า โอบามามีคะแนนนำในรัฐโอไฮโอ, วิสคอนซิน, นิวแฮมพ์เชอร์, ไอโอวา, เนวาดา และโคโลราโด เขาเกือบจะมีคะแนนเทียบเท่ารอมนีย์ในรัฐเวอร์จิเนียร์ และมีคะแนนในรัฐฟลอริดาตามหลังรอมนีย์ ค่าเฉลี่ยผลสำรวจการเลือกตั้งของ RealClearPolitics.com ก็มีผลออกมาเช่นเดียวกัน
ผลสำรวจดังกล่าวถือเป็นลางที่ไม่ดีนักสำหรับรอมนีย์ ผู้นำพรรครีพับลิกันเล่นบทรุกใน 2 วันสุดท้ายของการรณรงค์หาเสียง ขณะที่เขาไม่เพียงเปิดการชุมนุมที่ฟลอริดา และเวอร์จิเนียร์ที่ซึ่งเขามีคะแนนนำ แต่ยังมีคะแนนนำในรัฐโอไฮโอ, ไอโอวา, นิว แฮมพ์เชอร์ และเพนซิลวาเนียเมื่อวันอาทิตย์ และวันจันทร์อีกด้วย
อีกด้านหนึ่ง โอบามา กำลังตั้งรับ และมุ่งเน้นไปที่การปรากฏตัวใน “ไฟร์วอลล์" ของมิดเวสท์ เขากำลังจัดแคมเปญหาเสียง 7 แคมเปญ จาก 9 แคมเปญที่นี่ ซึ่งแคมเปญ 3 แคมเปญจัดขึ้นที่โอไฮโอ และอีก 2 กิจกรรมในไอโอวา แคมเปญอีก 1 แคมเปญในวิสคอนซิน และอีก 1 แคมเปญหาเสียงในรัฐโคโลราโด
กลยุทธ์ที่แตกต่างของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธนาธิบดีอาจมีส่วนที่ทำให้โอบามามีคะแนนนำในสนามแข่งมิดเวสท์ จอห์น ฟอร์เทียร์ ระบุว่า ปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งนั้น อาจจะดึงคะแนนนำของโอบามาลง ซึ่งทำให้คะแนนในรัฐที่ระบุไปก่อนหน้านี้ กลับมามีบทบาท