นิด้าโพลเผยปชช.ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนฝ่ายค้านยื่นอภิปรายฯ ควรให้เวลาทำงานก่อน

ข่าวการเมือง Wednesday November 7, 2012 10:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “วิปฝ่ายค้าน กับ การยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล" ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2555 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,246 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกภูมิภาค ทุกระดับการศึกษาและกลุ่มอาชีพ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 35.39 ระบุว่า ไม่ควรยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะอภิปราย และรัฐบาลบริหารงานได้ดีอยู่แล้วควรให้รัฐบาลทำงานไปก่อน รวมทั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้

ร้อยละ 28.49 ระบุว่า วิปฝ่ายค้านควรอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในรูปแบบอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เพราะ การทำงานของแต่ละกระทรวงหรือบุคคลไม่เหมือนกัน ควรเลือกเฉพาะที่ไม่ไว้วางใจจะได้ไม่ยืดเยื้อ

สำหรับ บุคคลที่ประชาชนต้องการให้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ อันดับหนึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อันดับสอง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ และอันดับสาม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์

ขณะที่ ร้อยละ 23.68 ระบุว่า ควรอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะ เพราะประชาชนจะได้ทราบว่ากระทรวงหรือรัฐมนตรีท่านใดบ้างที่บริหารงานได้ ไม่ดีจะได้ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อย่างละเอียดรอบคอบมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นรัฐบาลชุดเดียวกัน ต้องทำงานประสานกันอยู่แล้ว

เมื่อถามว่าผลการอภิปรายจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหรือไม่ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 35.87 เชื่อว่าจะดีขึ้น เพราะรัฐบาลจะได้ทราบถึงข้อบกพร่องในการบริหารประเทศและจะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น รองลงมา ร้อยละ 33.63 เชื่อว่าเหมือนเดิม เพราะรัฐบาลเป็นเสียงส่วนใหญ่ และคิดว่ารัฐบาลจะไม่นำข้อบกพร่องในการทำงานมาปรับปรุง ไม่ใส่ใจ เมื่ออภิปรายเสร็จก็เหมือนเดิม

ท้ายสุด ประชาชน ร้อยละ 56.08 อยากให้รัฐบาลปรับปรุงการทำงานในเรื่องของเศรษฐกิจปากท้อง สินค้าราคาแพง ปัญหาค่าครองชีพ ค่าจ้างขั้นต่ำ และปัญหาการว่างงาน ร้อยละ 13.19 การทุจริตคอร์รัปชันและความไม่โปร่งใสในการทำงานของรัฐบาล และร้อยละ 11.69 ปัญหายาเสพติด อบายมุข และการพนัน

1.        ท่านอยากจะให้วิปฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในรูปแบบใด

ความคิดเห็นต่อรูปแบบการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ร้อยละ

ไม่ควรยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล                    เพราะ     ยังไม่ถึงเวลาที่จะอภิปราย และรัฐบาลบริหารงาน                      ได้ดีอยู่แล้วควรให้รัฐบาลทำงานไปก่อน รวมทั้ง                        การอภิปรายไม่ไว้วางใจอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้
35.39

ควรอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล    เพราะ     การทำงานของแต่ละกระทรวงหรือบุคคลไม่เหมือนกัน                                   ควรเลือกเฉพาะที่ไม่ไว้วางใจจะได้ไม่ยืดเยื้อ
28.49

ควรอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะ              เพราะ     ประชาชนจะได้ทราบว่ากระทรวงหรือรัฐมนตรี                      ท่านใดบ้างที่บริหารงานได้ไม่ดีจะได้ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อย่างละเอียดรอบคอบมากขึ้น อีกทั้งเป็นรัฐบาลชุดเดียวกันต้องทำงานประสานกันอยู่แล้ว
23.68

ควรอภิปรายไม่ไว้วางใจเฉพาะนายกรัฐมนตรี        เพราะ    เป็นผู้นำหลักของประเทศและเป็นผู้ตัดสินใจในการบริหารการทำงานเกี่ยวกับนโยบายหรือโครงการต่างๆ
8.59

รวม
100.00




2.        ท่านคิดว่าผลการอภิปรายจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหรือไม่

ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงหลังการอภิปราย
ร้อยละ

ดีขึ้น             เพราะ   รัฐบาลจะได้ทราบถึงข้อบกพร่องในการบริหารประเทศและจะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
35.87

เหมือนเดิม    เพราะ   รัฐบาลเป็นเสียงส่วนใหญ่ และคิดว่ารัฐบาลจะไม่นำข้อบกพร่องในการทำงานมาปรับปรุง                             ไม่ใส่ใจ เมื่ออภิปรายเสร็จก็เหมือนเดิม
33.63

แย่ลง            เพราะ    อาจจะเกิดความขัดแย้งกันภายในพรรคหรือระหว่างพรรคได้
7.38

ไม่แน่ใจ
23.11

รวม
100.00




3.        ท่านคิดว่าบุคคลใดที่ควรถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจมากที่สุด 3 อันดับแรก

บุคคลที่ควรถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจมากที่สุด 3 อันดับแรก
ร้อยละ

นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
43.15

นายบุญทรง  เตริยาภิรมย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
29.26

นายณัฐวุฒิ  ใสยเกื้อ  อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
27.59




4.        ท่านอยากให้รัฐบาลปรับปรุงการทำงานในเรื่องใดมากที่สุด

ความคิดเห็นต่อเรื่องที่อยากให้รัฐบาลปรับปรุงในการทำงานมากที่สุด
ร้อยละ

เศรษฐกิจปากท้อง//สินค้าราคาแพง//ค่าครองชีพ/ค่าแรงขั้นต่ำ//ปัญหาการว่างงาน
56.08

การทุจริตคอร์รัปชัน//ความไม่โปร่งใสในการทำงานของรัฐบาล
13.19

ปัญหายาเสพติด//อบายมุข//การพนัน
11.69

ราคาผลผลิตการเกษตรที่ตกต่ำและควรเร่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกร
10.27

ระบบการศึกษา
8.77


 ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2555 จากประชาชนทั่วประเทศ                             จำนวน 1,246 หน่วยตัวอย่าง  กระจายทุกภูมิภาค ทุกระดับการศึกษาและกลุ่มอาชีพ ในกรณีที่วิปฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล  ผลการสำรวจ











































เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ