เนื่องจากเป็นห่วงสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านบางส่วนยังไม่เข้าใจเนื้อหาของกฎหมาย ที่มีการแก้ไขใน 4 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย การให้ประชาชนเป็นผู้เลือกกำนันแทนการให้ผู้ใหญ่บ้านเลือก/การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี จากเดิมกำหนดให้อยู่ในตำแหน่งได้จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ 60 ปี และจะต้องผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่จะไม่มีการจำกัดอายุผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมถึงมีการกำหนดบทเฉพาะกาลว่าภายหลังการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวจะไม่มีผลย้อนหลังกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านที่ดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน ประมาณ 65,000 คน ซึ่งในหลักการทุกพรรคการเมืองเห็นพ้องต้องกัน เนื่องจากกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ การกำหนดให้อยู่ในอำนาจยาวนานถือเป็นดาบสองคม และอาจเกิดการผูกขาดอำนาจในท้องที่และการแก้ไขเป็นประโยชน์
ทั้งนี้ เชื่อว่าการเคลื่อนไหวชุมนุมของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านเป็นประเด็นทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันเห็นว่าการที่พรรคเพื่อไทยถอยครั้งนี้คงไม่ใช่เพราะเป็นห่วงเรื่องฐานคะแนนเสียง
นายนพคุณ กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปคณะกรรมาธิการฯ จะหารือกันถึงรูปแบบการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเปิดเวทีสานเสวนาหรือไม่ เนื่องจากรูปแบบดังกล่าวต้องใช้งบประมาณ แต่จะกำหนดให้เป็นรูปแบบที่ไม่สร้างขัดแย้ง และให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่ายอย่างไม่บิดเบือน
อย่างไรก็ดี ในเบื้องต้นเห็นว่าผลโพลส่วนใหญ่ที่สื่อเคยทำการสำรวจ พบว่าประชาชนเห็นด้วยกับการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน จึงยังไม่ได้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินการว่าต้องแล้วเสร็จภายในสมัยประชุมหน้าหรือสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติหรือไม่