สำหรับการโหวตวาระ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าที่ เป็นเรื่องของสภาฯ จะตัดสินใจ และรัฐบาลมีจุดประสงค์ใหญ่ คือ อยากให้บ้านเมืองสงบมีทางออกเดินหน้าได้ ตามที่ได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า รัฐบาลต้องการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมองว่าการทำประชาเสวนาเป็นส่วนที่ดีที่จะสร้างความเข้าใจในการจัดเวที แต่มีอีกวิธีคือการทำประชามติ ดังนั้น จึงเห็นควรในการทำประชามติ
ทั้งนี้ กระบวนการต่าง ๆ ทั้งการทำประชามติ และการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ยังใช้เวลาอีกนาน พร้อมยืนยันว่า ไม่ได้กังวลว่าการทำประชามติจะผ่านหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับประชาชน โดยเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่ความปรองดองในประเทศในปีหน้า แต่สุดท้ายกระบวนการดังกล่าวก็ต้องรอมติคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
สำหรับปัญหาความไม่สงในพื้นที่ 3 จังหวัยแดนใต้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ได้ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับฟังปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นกับครูในพื้นที่ และได้พบสมาพันธ์ครูทั้ง 5 จังหวัด โดยจากการที่ได้รับฟัง พบว่า ครูห่วงเรื่องความปลอดภัย ดังนั้นจึงต้องบูรณาการกับหน่วยงานความมั่นคง จะหาวิธีการที่มีความชัดเจน พร้อมยืนยันว่า จะมีการดูแลสวัสดิการของครู เพราะถือว่า ครูเป็นผู้เสียสละ ทั้งนี้ โรงเรียนในพื้นที่ จะกลับมาเปิดตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม เป็นต้นไป
นอกจากนี้ เรื่องการบริหารจัดการ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ต้องมีความเป็นเอกภาพเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว โดยแต่ละกระทรวงจะมาทำเวิร์กช็อปกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.) ส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็จะเร่งส่งไปในพื้นที่ รวมถึงงบประมาณด้วย
นอกจากนี้ นายกฯ ยังกล่าวถึงกองทุนตั้งตัวได้ว่า กองทุนนี้รวมความร่วมมือ 3 ฝ่าย คือ มหาวิทยาลัย มีศูนย์บ่มเพาะอยู่แล้วที่คอยดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในการดูแลทำวิจัย ยกระดับขึ้นมาในการแนะนำแผนธุรกิจ การบริหารจัดการเราเชื่อว่านักธุรกิจรุ่นใหม่มีพลังเยอะ เราจะทำอย่างไรสร้างให้เป็นมืออาชีพ ให้ความรู้ก่อนขอจากกองทุน จนกว่าจะตั้งตัวได้หรือเรียนรู้เป็นเซอร์วิสที่มีให้ และนักศึกษามาใช้บริการนี้ ส่วนที่สอง คือศิษย์เก่าที่จบมาจากมหาวิทยาลัย มีประสบการณ์เราก็อยากให้มาช่วยเหลือแนะนำมาช่วยเหลือน้องๆเหมือนมีที่ปรึกษา ส่วนที่สาม ที่กังวลว่ามีหนี้สูญหรือไม่ก็จะมีแบงก์ทีเราขอมาร่วมเป็นกรรมการ ในการพิจารณาให้กู้ด้วย เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐและแบงก์ในการให้กู้ ให้แบงก์เข้ามาตรวจสอบและแนะนำ การมีองค์กรนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงวินัยการเงินการคลังด้วย
ที่เราเสนอโครงการไว้มีประมาณ 10 สาขาอาชีพทั้งสายอาชีวะและมหาวิทยาลัย ในสายอาชีวะก็เป็นที่ต้องการมาก และเรามองว่าสามารถตั้งกิจการได้ ที่เปิดไปแล้วก็มีผู้สนใจเสนอโครงการเข้ามาเยอะ บางส่วนก็นำวิจัยของมหาวิทยาลัยให้เกิดเป็นรูปธรรมร่วมกับศิษย์เก่าได้ พูดง่ายๆวันนี้กลไกที่มหาวิทยาลัยมีเนื้อหา มีความคิด มีคน แล้วแต่ขาดเงินในส่วนนี้รัฐก็เข้ามาช่วยและขอแบงก์เข้ามาช่วยดูในเรื่องบริหารความเสี่ยง
ส่วนเรื่องวงเงินที่จะกำหนดให้นั้น ทางคณะกรรมการบริหารจะกำหนดรายอุตสาหกรรมอีกครั้ง แต่การให้เหมือนการให้สินเชื่อที่ดูตามความเหมาะสม มีแบงก์พิจารณาความเสี่ยงต่างๆ ถ้าเห็นชอบก็อนุม้ติวงเงินไป ทุกเดือนมีศูนย์บ่มเพาะคอยรายงานเข้ามาว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ถ้าได้เสริมความเป็นมืออาชีพและวิชาการเข้าไป ศักยภาพตรงนี้มี เป็นการเสริมเอสเอ็มอี เพราะเอสเอ็มอีก็เป็นรากฐานในการเสริมเศรษฐกิจไทยต่อไป