"แน่นอนหากประชามติผ่านต้องมีขัดขวาง ต้องได้เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งต้องได้ 23 ล้านเสียง ไม่ใช่เกินกึ่งหนึ่งผู้มาใช้สิทธิ์ เรามี 15 ล้านเสียง ประชาธิปัตย์มี 10 ล้านเสียง คนสนับสนุนประชาธิปัตย์เขาคงไม่มาลงคะแนนเสียงให้เรา...นี่ยังไม่เห็นก็เข็นครกขึ้นภูเขาแล้ว" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
นอกจากนี้ยังเห็นว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นก็จะมีการเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่ แต่หากประชามติไม่ผ่านก็สามารถหันกลับมาใช้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ประเด็นของตนเองได้
ส่วนกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เขียนจดหมายเปิดผนึกเชิญชวนประชาชนไม่ให้ออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ถือว่าเป็นสิทธิ์ของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะดำเนินการได้ในเรื่องของการรณรงค์ไม่ให้ประชาชนสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากมีการเคลื่อนไหวนอกเหนือจากการรณรงค์ก็อาจมีปัญหาในเรื่องของข้อกฎหมาย ในส่วนของรัฐบาลก็ถือเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด และมีหน้าที่สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ร.ต.อ.เฉลิม ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นกรณีที่ศาลชี้ว่าผู้เสียชีวิตในระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะเกรงจะถูกกล่าวหาว่า มีการตั้งธงแต่ย้ำว่าใครทำอะไรไว้ก็ต้องรับผิดชอบ พร้อมทั้งแสดงความพอใจที่มีผู้สื่อข่าวสายอาชญากรรมตั้งให้ว่า "เฉลิม ฉะดะ"