"ถ้าประชามติตกเพราะเสียงไม่ถึง ไม่เป็นไร ตกก็ตก เสนอใหม่แก้รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ไม่เห็นเป็นไร ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย หากไม่ทำก็ขัดรัฐธรรมนูญ ต้องมีทางออก เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างความเข้าใจประชาชน" นายสมศักดิ์ กล่าว
ประธานสภาฯ คาดว่า 1 เดือนหลังจากนี้ไปที่คณะทำงานจะไปศึกษาแนวทางทำประชามติและประชาเสวนา เพื่อนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อนจะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นเป็นขั้นตอนทำประชามติตามกฎหมาย เชื่อว่าการทำประชามติจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย.56 ซึ่งเป็นช่วงปิดสมัยประชุมสภาฯ ดังนั้นวาระการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ อีกครั้ง คือช่วงสมัยประชุมสามัญวันที่ 2 ส.ค.56
"เมื่อดูกรอบเวลาแล้ว หมอดูฟันธงว่า หากไม่มีอุปสรรคอะไร จะมีการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ได้ในวันศุกร์แรกของเดือนส.ค.56 แน่นอน ซึ่งระยะเวลาจากวันนี้ไปจนถึงวันที่จะมีการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรวมเวลา 6 เดือน มากพอที่จะทำประชาเสวนา ดังนั้นขอให้ทำทุกตารางนิ้ว ไหนๆ จะเสียเงิน 2 พันล้านบาทอยู่แล้ว ต้องทำให้ครอบคลุมและลงลึก เชื่อว่าหากทำครอบคลุมทุกตารางนิ้ว ทุกอย่างจบ" นายสมศักดิ์ กล่าว
สำหรับการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ที่ค้างอยู่ ทางออก มี 2 ทาง คือ 1.ทำประชามติทั้งก่อนและหลังแก้รัฐธรรมนูญ และ 2.ทำประชามติหลังยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ หรือทางที่ 3.ถือเป็นไปไม่ได้ คือ ให้โหวตคว่ำรัฐธรรมนูญ