"เมื่อเขาเป็นเจ้าของปราสาท เขาจึงมีสิทธิ์นำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยไม่จำเป็นต้องมีคำแถลงการณ์ร่วม แต่ที่ต้องทำแถลงการณ์ร่วมเพราะ ในปี 2549 ก่อนที่พวกผมเข้ารับตำแหน่ง กัมพูชายื่นคำขอขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหาร และพื้นที่ทับซ้อนเป็นมรดกโลก แต่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และผมเป็นคนเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออก และขึ้นทะเบียนได้เฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น โดยกัมพูชายอมตัดพื้นที่ทับซ้อนออก ตามที่ระบุในข้อ 9 ของมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ประชุมที่ประเทศแคนนาดา ในวันที่ 7 ก.ค. 51"นายนพดล กล่าว
นอกจากนี้ กัมพูชาไม่สามารถนำคำแถลงการณ์ร่วมไปใช้ประกอบในการขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลก เพราะศาลปกครองได้ตัดสินว่าคำแถลงการณ์ร่วมเป็นโมฆะและไร้ผล รวมทั้งห้ามนำไปอ้างอิงใดๆ และมีการรับรองและระบุชัดเจนในข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกในวันที่ 7 ก.ค. 51 ข้อ 5 ว่า ให้ตัดคำแถลงการณ์ร่วมออกจากการพิจารณา ตามที่ศาลปกครองไทยตัดสิน นอกจากนี้ไทยและกัมพูชา ยอมรับว่า คำแถลงการณ์ร่วมสิ้นผลแล้ว ตามหนังสือที่นายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น กและได้แจ้งไปยังกัมพูชา ดังนั้น คำแถลงการณ์ร่วมจึงไม่มีผลใดๆกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และไม่เกี่ยวข้องกับคดีที่อยู่ในศาลโลกในปัจจุบัน
ทั้งนี้ขอเรียกร้องพรรคการเมืองและคนไทยทุกกลุ่ม เลิกใช้ความเท็จและหันมาผนึกกำลังกันต่อสู้คดีที่อยู่ในศาลโลก น่าจะมีประโยชน์มากกว่ามาโทษกันไปมาและบิดเบือนใส่ร้ายเพื่อหวังผลการเมือง และคดีที่กำลังพิจารณาอยู่ในศาลโลกในขณะนี้ เป็นการตีความคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ไม่ใช่คดีใหม่