ในขณะที่ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 37.6 หรือเพิ่มขึ้น 5.9 จุด และ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ มีความนิยมไม่เปลี่ยนแปลงคือร้อยละ 14.5 และร้อยละ 14.3 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
เมื่อสอบถามถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มีบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัยถูกใจมากที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ พล.ต.อ.พงศพัศ ได้ร้อยละ 43.6 อันดับสองได้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ร้อยละ 36.6 อันดับสามได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ ได้ร้อยละ 15.6 และอื่นๆ ได้แก่ นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น ได้ร้อยละ 4.2
ด้านความรู้ความสามารถที่น่าประทับใจมากที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ พล.ต.อ.พงศพัศ พรรคเพื่อไทย ได้ร้อยละ 45.2 อันดับสองได้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ร้อยละ 36.5 อันดับสามได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ ผู้สมัครอิสระ ได้ร้อยละ 15.3 และอื่นๆ ได้แก่ นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น ได้ร้อยละ 3.0
ที่น่าสนใจคือ ด้านรูปแบบการลงพื้นที่หาเสียงที่ชอบมากที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ พล.ต.อ.พงศพัศ ได้ร้อยละ 42.0 อันดับสองได้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ร้อยละ 35.8 อันดับสามได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ ได้ร้อยละ 14.6 และอื่นๆ ได้แก่ นายสุหฤท นายโฆสิต เป็นต้น ได้ร้อยละ 7.6
ด้านความจริงใจ พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ พล.ต.อ.พงศพัศ ได้ร้อยละ 41.0 อันดับสองได้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ร้อยละ 37.7 อันดับสามได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ ได้ร้อยละ 15.2 และอื่นๆ ได้แก่ นายสุหฤท นายโฆสิต เป็นต้น ได้ร้อยละ 6.1
เมื่อถามถึงป้ายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ชอบมากที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ พล.ต.อ.พงศพัศ ได้ร้อยละ 40.9 อันดับสองได้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ร้อยละ 35.4 อันดับสามได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ ได้ร้อยละ 17.8 และอื่นๆ ได้แก่ นายสุหฤท นายโฆสิต เป็นต้น ได้ร้อยละ 5.9
ด้านการดูแลปัญหาปากท้องค่าครองชีพที่มอบความไว้วางใจให้ดูแลได้มากที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ พล.ต.อ.พงศพัศ ได้ร้อยละ 43.1 อันดับสองได้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ร้อยละ 38.0 อันดับสามได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ ได้ร้อยละ 14.9 และอื่นๆ ได้แก่ นายสุหฤท นายโฆสิต เป็นต้น ได้ร้อยละ 4.0
เมื่อถามถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งที่คิดว่าจะแก้ปัญหาจราจรได้ดีที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ พล.ต.อ.พงศพัศ ได้ร้อยละ 44.7 อันดับสองได้แก่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ร้อยละ 32.3 อันดับสามได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ ได้ร้อยละ 15.8 และอื่นๆ ได้แก่ นายสุหฤท นายโฆสิต เป็นต้น ได้ร้อยละ 7.2
เมื่อถามถึง หมายเลข หรือ เบอร์ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ชอบมากที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งได้แก่ หมายเลข 9 ได้ร้อยละ 44.6 อันดับสองได้แก่ หมายเลข 16 ได้ร้อยละ 33.8 อันดับสามได้แก่ หมายเลข 11 ได้ร้อยละ 15.5 และหมายเลขอื่นๆ ได้ร้อยละ 6.1 ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงภายหลังการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 17.4 อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงระดับปานกลาง และร้อยละ 2.3 เท่านั้นที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงน้อยถึงน้อยที่สุด
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.3 ตั้งใจจะไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้ ในขณะที่ร้อยละ 38.7 ไม่ไป
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า จากผลสำรวจเห็นได้ชัดเจนว่า สาธารณชนคนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง (Change) และผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คะแนนนิยมที่เคยสูสีกันระหว่า พล.ต.อ.พงศพัศ กับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ในช่วงก่อนวันรับสมัครเริ่มเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ พล.ต.อ.พงศพัศ กำลังมีคะแนนนิยมเพิ่มสูงขึ้นทิ้งห่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์อยู่ 4.2 จุด และจากการสัมภาษณ์เจาะลึกชาวบ้านพบว่า จุดเด่นของ พล.ต.อ.พงศพัศ คือ “ความใหม่” และผลงานที่เคยสะสมมาในอดีตช่วงการรับราชการตำรวจที่รับใช้ประชาชนคนกรุงเทพมหานคร ในขณะที่จุดเด่นของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ คือ “ความสุภาพ” ถ่อมตัว แต่ช่วงที่เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผ่านมายังไม่พบผลงานโดดเด่นแต่กลับมีข่าวปัญหาขัดแย้งกับรัฐบาลและข่าวในทางลบ เช่น การสร้างสนามฟุตซอลที่เสร็จไม่ทันตามกำหนด กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ และข่าวคดีความที่กำลังถูกสอบสวนของดีเอสไอ (DSI) เป็นต้น ผู้ถูกศึกษาที่ตัดสินใจเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ จึงอยากทดลองให้โอกาสคนใหม่และอยากเห็นความสามัคคีร่วมมือกันแก้ปัญหาให้คนกรุงเทพแทนความขัดแย้งที่มีแต่จะทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน
ทั้งนี้ เอแบคโพลล์ ได้ทำการสำรวจดังกล่าวกรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,766 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นเลือกเขต แขวง ชุมชน และลงสัมภาษณ์แบบเคาะประตูบ้านในระดับครัวเรือน