นอกจากนี้ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้ปรับสูงขึ้น อาทิ เนื้อหมูจาก กก.ละ 119.75 บาทในปี 55 เพิ่มขึ้นอีก 10.25% ในปีนี้ ส่วนราคาไข่ไก่จากฟองละ 3.33 บาท เพิ่มเป็นฟองละ 3.65 บาท ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรกลับราคาตกต่ำ เช่น มันสำปะหลัง กก.ละ 2.25 บาท ลดลงเหลือ 2.05 บาท ยางพารา กก.ละ 94.43 บาท ลดลงเหลือ 79.17บาท จึงอยากถามว่ารัฐบาลจะมีมาตรการแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร เพราะบริหารงานมาแล้วปีกว่า
ด้านนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เจรจากับทางประเทศอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทราบว่าขณะนี้ทางสหรัฐอเมริกากำลังยื่นเรื่องไปยังองค์การการค้าโลก(WTO) กรณีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวจะเข้าข่ายแทรกแซงการค้าหรือไม่ โดยกระทรวงพาณิชย์กำลังพิจารณาว่าจะร่วมยื่นเรื่องร้องไปยัง WTO ด้วยหรือไม่
ส่วนการแก้ปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบว่าช่วงเวลาไหน ราคาเท่าไหร่ และส่งรายละเอียดกลับมายังกระทรวงฯ เพื่อจะได้ช่วยเหลือเกษตรกรแต่ละพื้นที่ได้อย่างตรงจุด สำหรับไข่ไก่ก็มีการจำกัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เพื่อควบคุมปริมาณผลผลิตภายในประเทศผ่านคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือเอ้กบอร์ด ซึ่งขณะนี้มีปริมาณไข่เกินความต้องการภายในประเทศวันละ 1-2 ล้านฟอง ทำให้ราคาไข่ไก่ไม่ได้ขยับเพิ่มสูงขึ้นมากนัก
นายอาคม กล่าวว่า ในส่วนของราคาปาล์มที่ตกต่ำ ซึ่งมีพื้นที่ผลิต 4.2 ล้านไร่ ขณะนี้ผลผลิตออกมาแล้ว 3.9 ล้านไร่ แต่ไม่สามารถขายได้ เนื่องจากที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์มีการนำเข้าน้ำมันปาล์ม 4 หมื่นล้านตัน ขณะที่น้ำมันปาล์มที่กลั่นแล้วยังค้างอยู่โรงกลั่นเป็นจำนวนมากนั้นรัฐบาลจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
รมว.เกษตรฯ ชี้แจงว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีการรับซื้อปาล์มจากเกษตรกร 5 หมื่นตัน และรับซื้อครั้งที่ 2 อีก 5 หมื่นตัน ซึ่งเรื่องนี้ต้องการให้เกษตรกรรายย่อยได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้เกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนต้องมีที่ดินปลูกปาล์มไม่เกินรายละ 50 ไร่