การหาเสียงผู้ว่าฯกทม. “ครั้งก่อน" กับ “ครั้งนี้" ต่างกันหรือไม่ อันดับ 1 ไม่ต่างกัน 59.54% เพราะ ยังคงเป็นการแข่งขันกันระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่ ,เน้นการลงพื้นที่และชูนโยบายที่เอาใจคนกรุงเทพฯเหมือนเดิม อันดับ 2 ต่างกัน 40.46% เพราะ ผู้สมัครครั้งนี้ต่างเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มาจากหลากหลายอาชีพ เป็นคนคุณภาพที่อาสาเข้ามาทำงาน , รูปแบบการหาเสียงเน้นผ่านสังคมออนไลน์มากขึ้นโดยเฉพาะเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์
การนำเสนอข่าวเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ของสื่อมวลชนทั้งทีวี วิทยุ นสพ.ที่คนกรุงเทพฯชื่นชอบ คือ อันดับ 1 การสัมภาษณ์พูดคุยกับผู้สมัครเบอร์ต่างๆ เปิดโอกาสให้นำเสนอนโยบายแสดงวิสัยทัศน์ได้อย่างอิสระ 53.81% อันดับ 2 เกาะติดสถานการณ์ นำเสนอข่าวรวดเร็ว /รายงานความเคลื่อนไหวหรือมีข่าวให้ติดตามตลอดทั้งวัน 27.94% อันดับ 3 การนำเสนอผลหรือข้อมูลที่เป็นตัวเลข จัดอันดับเปรียบเทียบที่ดูเข้าใจง่าย มีภาพหรือกราฟฟิคประกอบ 18.25%
การนำเสนอข่าวเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ของสื่อมวลชนทั้งทีวี วิทยุ นสพ.ที่คนกรุงเทพฯไม่ชอบ/เบื่อหน่าย คือ อันดับ 1 นำเสนอข่าวไม่เป็นกลาง ลำเอียง เลือกข้าง เลือกนำเสนอเฉพาะบางคน 38.36% อันดับ 2 นำเสนอข่าวเกินความเป็นจริง ตีไข่ใส่สีให้ทะเลาะกัน / ขุดคุ้ยเรื่องเก่ามาโจมตี ใส่ร้ายผู้สมัคร 31.48% อันดับ 3 นำเสนอข่าวเพียงด้านเดียว ไม่ได้นำเสนอทั้งหมด / เลือกเฉพาะประเด็นที่คิดว่าขายได้เท่านั้น 30.16%