นอกจากนี้ คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 4.53 จะเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส, ร้อยละ 1.07 จะเลือกนายสุหฤท สยามวาลา, ร้อยละ 0.60 จะเลือกนายโฆสิต สุวินิจจิต ขณะที่ร้อยละ 0.27 จะเลือกผู้สมัครอิสระอื่นๆ เช่น นายวศิน ภิรมย์, นายวรัญชัย โชคชนะ, นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง เป็นต้น ส่วนคนกรุงเทพฯ ร้อยละ 3.93 จะไม่เลือกใคร ไม่ลงคะแนนเสียง (Vote NO) โดยคนกรุงเทพฯ ในสัดส่วนมากสุดที่ร้อยละ 41.33 ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ
เมื่อถามถึงเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร เป็นผู้ว่าฯ กทม. เมื่อเรียงตามลำดับหมายเลขผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม.สามารถสรุปได้ ดังนี้ (ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าจะเลือกใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.)
เหตุผลที่คน กทม.ใช้ในการตัดสินใจเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 9 พบว่า ร้อยละ 43.38 ชอบที่ตัวบุคคล ทำงานเก่ง มีวิสัยทัศน์ และมีประสบการณ์ รองลงมา ร้อยละ 22.55 มีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ ร้อยละ 15.20 ชอบพรรคการเมือง (พรรคเพื่อไทย) ร้อยละ 11.76 สามารถทำงานและประสานงานร่วมกับรัฐบาลได้ดี ร้อยละ 4.17 อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากให้โอกาสคนอื่นๆ ลองเข้ามาทำงานดูบ้าง และร้อยละ 2.94 มองว่า การบริหารงาน กทม. ของพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ดีเท่าที่ควร
เหตุผลที่คน กทม.ใช้ในการตัดสินใจเลือก นายโฆสิต สุวินิจจิต ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 10 พบว่า ร้อยละ 44.44 มีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ รองลงมา ร้อยละ 33.33 เป็นผู้สมัครอิสระ ไม่สังกัดพรรค และ ร้อยละ 11.11 ชอบที่ตัวบุคคล เก่ง มีวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากให้โอกาสคนอื่นๆ เข้ามาทำงานดูบ้าง ในสัดส่วนที่เท่ากัน
เหตุผลที่คน กทม.ใช้ในการตัดสินใจเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 11 พบว่า ร้อยละ 44.44 ชอบที่ตัวบุคคล เก่ง มีประสบการณ์ รองลงมา ร้อยละ 36.11 เป็นผู้สมัครอิสระ ไม่สังกัดพรรค (กลุ่มพลังกรุงเทพฯ) ร้อยละ 11.11 มีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ และร้อยละ 1.39 ชอบทีมงาน รองผู้ว่าฯ (รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์) และเชื่อว่ากลุ่มพันธมิตรสนับสนุน ในสัดส่วนที่เท่ากัน
เหตุผลที่คน กทม.ใช้ในการตัดสินใจเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 16 พบว่า ร้อยละ 30.96 ชอบที่ตัวบุคคล เก่ง มีประสบการณ์ รองลงมา ร้อยละ 27.67 สามารถสานต่อนโยบายเดิมได้ต่อเนื่อง ร้อยละ 26.85 ชอบพรรคการเมือง (พรรคประชาธิปัตย์) ร้อยละ 9.59 มีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ และร้อยละ 3.01 เป็นการรักษาฐานคะแนนเสียงพรรคประชาธิปัตย์ เกรงว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับคะแนนความนิยมมากกว่า
เหตุผลที่คน กทม.ใช้ในการตัดสินใจเลือกนายสุหฤท สยามวาลา ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 17 พบว่า ร้อยละ 52.94 ชอบตัวบุคคล มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รองลงมา ร้อยละ 29.41 มีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ และ ร้อยละ 17.65 เป็นผู้สมัครอิสระ ไม่สังกัดพรรค
เหตุผลที่คน กทม. ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครายอื่นๆ เช่น นายวศิน ภิรมย์ นายวรัญชัย โชคชนะ และนายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง ร้อยละ 50.00 ชอบที่ตัวบุคคล และมีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ส่วนสาเหตุที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. นั้น ร้อยละ 76.45 ระบุว่า รอพิจารณาว่านโยบายใดเหมาะสม รองลงมา ร้อยละ 8.71 ระบุว่า ไม่มีใครน่าสนใจ และร้อยละ 0.97 รอดูผลโพล
อนึ่ง ผลการสำรวจดังกล่าว มาจากความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทั้ง 50 เขต จำนวน 1,500 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษา ทุกอาชีพ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2556