ประกอบด้วย 1.ให้ยึดหลักนโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2555-2557 ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ให้นำไปปฏิบัติในพื้นที่อย่างจริงจัง 2.เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีของไทยประกาศเจตนารมย์ทางการเมืองกับประเทศมาเลเซีย และเริ่มต้นพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา
3.เห็นควรยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 6 อำเภอ คือ อ.เบตง อ.ธารโต อ.กาบัง จ.ยะลา, อ.สุคีรินทร์ อ.แว้ง จ.นราธิวาส และ อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี แล้วนำ พ.ร.บ.มั่นคงฯ มาตรา 21 มาบังคับใช้แทน แต่ให้คง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไว้ในพื้นที่สีแดง และ 4.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี จะลงพื้นที่ จ.ยะลา เพื่อพบปะกับประชาชน และองค์กรในพื้นที่ช่วงเดือน มี.ค.นี้ โดยมีนายวันมูฮะมัดนอร์ มะทา เป็นเจ้าภาพในการพาลงพื้นที่ ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม รับข้อเสนอทั้งหมดและรับปากจะนำไปหารือกับฝ่ายความมั่นคงเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาต่อไป
ด้านนายนัจมุดดีน อูมา ที่ปรึกษาฯ กล่าวว่า กรณีที่เลขาธิการ สมช.ไปลงนามสร้างสันติภาพกับนายอัสซัน ตอยิฟ เลขาธิการกลุ่มบีอาร์เอ็นโคออดิเนตนั้น ฝ่ายความมั่นคงรายงานว่านายอัสซัน เป็นฝ่ายการเมือง แต่ฝ่ายปฏิบัติงานจะอยู่ในพื้นที่ ซึ่งอาจจะสั่งการฝ่ายปฏิบัติงานได้เพียงบางส่วน ดังนั้นการลงนามเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการพูดคุย จะให้จบปัญหาโดยเร็ววันต้องใช้เวลา
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าฝ่ายความมั่นคงจะมีการพูดคุยกับกลุ่มก่อความไม่สงบทั้งกลุ่มบีอาร์เอ็น คองเกรส กลุ่มพูโลใหม่ กลุ่มพูโลเก่า เป็นลำดับต่อไป และเห็นว่ากลุ่มที่ก่อเหตุความรุนแรงในขณะนี้เป็นแนวร่วมติดอาวุธกลุ่มบีอาร์เอ็นโคออดิเนต