ทั้งหากสภาผู้แทนราษฎร ยังดำเนินการเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ถือเป็นการขัดขวางกระบวนการตุลาการให้สะดุดลง เป็นการก้าวก่ายอำนาจตุลาการที่จะต้องปฏิบัติ นอกจากนี้ การออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมยังผิดหลักนิติธรรม เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมไม่มีโอกาสได้ตรวจสอบความถูกผิดทำให้ผู้ทำความผิดยังคงลอยนวล และโดยเฉพาะเหตุการณ์ เม.ย.- พ.ค. 2553 ยังมีกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มเสื้อดำที่ไม่ทราบว่าเป็นฝ่ายใด ใช้อาวุธทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายของเจ้าหน้าที่ ประชาชน และผู้ชุมนุมจำนวนมาก หากออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การตรวจสอบข้อเท็จจะถูกระงับไปโดยปริยาย ทำให้ผู้กระทำผิดลอยนวล
"การเสนอพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ไม่เพียงแต่ไม่เกิดความปรองดอง ยังปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนอล พร้อมจะก่อการอีกในอนาคต พวกเราจึงขอคัดค้านการออกพ.รบ.นิรโทษกรรมฯ และเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งตรวจสอบเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหาตัวคนผิดมาลงโทษจึงจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้นอีกในอนาคต ยืนยันว่ากลุ่มเสื้อหลากสีไม่ได้ปฏิเสธความปรองดอง แต่ต้องการให้เกิดความยุติธรรมและความสงบสันติยั่งยืนในอนาคต" นพ.ตุลย์ กล่าว