ขณะที่ 31.71% ระบุว่าเห็นด้วย เพราะ จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข ไม่มีการแบ่งฝ่าย เรื่องจะได้จบและเริ่มต้นใหม่
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม 34.34% ระบุว่า ควรนิรโทษกรรมทั้งแกนนำและผู้ชุมนุมที่ฝ่าฝืนกฏหมาย รองลงมา 29.80% ระบุว่า ควรนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทุกคนยกเว้นผู้ที่มีอำนาจสั่งการ และ 20.45% ระบุว่าควรนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ชุมนุมที่ฝ่าฝืนกฎหมาย มีเพียง 8.08% เท่านั้น ที่ระบุว่า ควรนิรโทษกรรมเฉพาะแกนนำ
ท้ายสุด ประชาชน 59.03% ระบุว่า หากร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับ นปช. เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร จะนำไปสู่ความรุนแรงในสังคม 21.33% ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ และ 19.65% ระบุว่าไม่นำไปสู่ความรุนแรง
"ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม เป็นการส่งสัญญาณให้กับกลุ่มที่พยายามผลักดันกฎหมายที่ขัดกับเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ ควรมีการทบทวนว่าจะทำต่อไปดีหรือไม่ ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย บรรดา ส.ส.พรรคเพื่อไทยก็ควรจะยุติการทำเสีย เป็น ส.ส. ต้องฟังเสียงของประชาชน ซึ่งถ้าหากทำก็จะนำความวุ่นวายตามมาทีหลัง เนื่องจากประชาชนเกือบ 60% มีความเชื่อว่าจะถ้าหากมีนำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรจะนำไปสู่ความรุนแรงในสังคม ซึ่งยิ่งมีความชัดเจนขึ้นมาอีกว่าประชาชนไม่ยอมให้มีการล้างความผิดให้กับคนที่กระทำความรุนแรงหรือกระทำผิดทางกฎหมาย และผู้กระทำผิดได้รับการพิจารณาตามกระบวนการยุติธรรม ท้ายสุดถ้ามีการผลักดันให้มีการนิรโทษกรรมแต่ไม่มีการสืบสาวหาความจริงก็จะทำให้สังคมวุ่นวายและขัดแย้งกันอีก" นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าว
นิด้าโพล ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “พ.ร.บ. นิรโทษกรรม” ระหว่างวันที่ 11 — 12 มีนาคม 2556 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา ทุกอาชีพ เกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมืองในช่วงเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 — 10 พฤษภาคม 2554