พร้อมกันนี้ คณะรัฐมนตรียังรับทราบการเปลี่ยนชื่อโครงการจากเดิมใช้ชื่อว่า ประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทยมาเป็น เวทีการพูดจาหาทางออกประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนและบุคคลทั่วไปเข้าใจง่ายขึ้น
ทั้งนี้ จะมีการจัดเวทีทั้งหมด 108 จุด โดยจะยึดเขตเลือกตั้งเป็นหลัก โดยตั้งเป้าจะเก็บข้อมูลจากประชาชนให้ได้ 75,000 ตัวอย่าง ตั้งเป้าจะมีประชาชนร่วมรับฟังในแต่ละเวทีประมาณ 800 - 1,000 คน และจะมีการใช้วิทยากรกระบวนการ 400-500 คน ต่อเวที
พร้อมกันนี้ จะมีการจัดทำหนังสือประกอบการเสวนา โดยจะกำหนดประเด็นที่จะถามความเห็นจากประชาชนใน 3 ประเด็น คือ 1.เรื่องแนวทางการสร้างความปรองดองว่าประชาชนมีความเห็นอย่างไร 2.สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนต่อแนวทางนิรโทษกรรม
และ 3.สอบถามความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะควรแก้ทั้งฉบับหรือเป็นรายมาตรา ซึ่งจะนำแนวคิดการสี่กลุ่มหลักมากำหนดประเด็น ประกอบไปด้วย ผลการศึกษาของนายอุกฤษ มงคลนาวิน ของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ ผลการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า และข้อสรุปจากคณะกรรมคอป.ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน โดยคาดว่าจะดำเนินการรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดิอน ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป