พร้อมทั้งมั่นใจว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ และสามารถทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายได้ รวมทั้งไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ซึ่งไม่ใช่การสมยอมระหว่าง ส.ว.และ ส.ส. หรือเป็นการดำเนินการเพื่อเอื้อประประโยชน์ต่างตอบแทนให้บุคคลหรือพรรคการเมืองใดตามที่มีผู้กล่าวหา
ประธานวุฒิสภา ยังระบุว่า การเสนอแก้ไขมาตรา 190 เกี่ยวกับการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภานั้น ควรจะเสนอสภาฯ ให้ความเห็นชอบเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้การอนุมัติในเรื่องทั่วๆ ไปเกิดความล่าช้า
ส่วนการแก้ไขเรื่องเกี่ยวกับการยุบพรรค ตามมาตรา 237 และมาตรา 68 ก็เพื่อให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง ลดความขัดแย้ง โดยยืนยันว่า ไม่มีการนิรโทษกรรมการเมืองหรือนัยทางการเมืองแอบแฝง และไม่ได้เตรียมการช่วยเหลือกลุ่มบ้านเลขที่ 109 ซึ่งถูกตัดสิทธิทางการเมือง เพราะกว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จ กลุ่มคนเหล่านั้นก็พ้นโทษทางการเมืองแล้ว
ขณะเดียวกันการเปิดให้ยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดเพียงช่องทางเดียวก็ไม่เป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชน แต่เป็นการกำหนดขั้นตอนชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งการแก้ไขเรื่องที่มาของ ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดก็เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ได้ทำให้ส.ว.มีอำนาจมากขึ้นในการแต่งตั้งหรือถอดถอนองค์กรอิสระ
นายนิคม ยังกล่าวถึงกระแสข่าวว่า ส.ว.บางคนถูกหลอกให้ลงชื่อเพื่อยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ด้วยวุฒิภาวะของ ส.ว.คงไม่มีใครถูกหลอก และไม่ทราบว่ามีการถอนชื่อออกจากการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนกรณีที่ กลุ่ม 40 ส.ว.เตรียมยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความการแก้ไขดังกล่าวก็เป็นสิทธิ แต่ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใด ส.ว.กลุ่มดังกล่าวถึงร้อนตัว เพราะเคยเป็น ส.ว.ติดต่อกันหลายสมัย