"พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ไม่ได้ตีเช็คเปล่า เพราะมีบัญชีแนบท้ายชัดเจนให้สภาพิจารณารายละเอียด และแปรญัตติ การที่จะกลับมาแก้ไขรายละเอียดใดๆ รัฐบาลไม่สามารถทำได้ ต่างจาก พ.ร.ก.ไทยเข้มแข็งที่ไม่มีรายละเอียดโครงการใดๆในการใช้จ่ายเงิน" นายวราเทพ กล่าว
นอกจากนี้รัฐบาลได้คำนึงถึงความโปร่งใสการเบิกจ่ายเงิน โดยเฉพาะการประกาศราคากลาง ซึ่งการกู้เงินต้องเป็นไปตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ และยังให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะกรรมาธิการสามารถเรียกตรวจสอบได้ทุกคณะอยู่แล้ว
ทั้งนี้หากจะผู้ยื่นศาลรับธรรมนูญตีความ ถือเป็นสิทธิ์ที่สามารถทำได้ รวมถึงหากจะมีการตรวจสอบในโครงการต่าง ๆ สามารถทำได้เช่นกัน เนื่องจาก พ.ร.บ.ดังกล่าว จะต้องมีการรายงานต่อที่ประชุมสภาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ที่กังวลว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวจะสร้างภาระหนี้ 50 ปี นั้นไม่ควรมองด้านเดียวแค่การก่อหนี้แต่ต้องดูทั้งสองด้าน โดยเฉพาะระบบการขนส่ง ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่จะสร้างรายได้ด้วย แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วทรัพย์สินจะอยู่กับประเทศนับร้อยปี ถือเป็นการสร้างประโยชน์ได้มาก เป็นโอกาสการสร้างรายได้ เพิ่มการแข่งขันของประเทศ
"ต้องบอกว่านี้คือโอกาส ถ้าไม่ทำวันนี้ จะเสียโอกาสมาก เพราะทั้งคนไทย และต่างชาติได้ใช้ สร้างแล้วได้รายได้จากค่าโดยสาร การท่องเที่ยว และประหยัดต้นทุนสินค้าที่จะส่งไปต่างประเทศ"นายวราเทพ กล่าว