สำหรับประเด็นที่ยังเป็นตัวฉุดดัชนีการเมืองไทยและเป็นปัญหาที่รัฐบาลแก้ไม่ตกเนื่องจากได้คะแนนไม่ผ่านครึ่งมี 6 เรื่อง ได้แก่ การแก้ปัญหาคอรัปชั่น ได้ 4.53 คะแนน, การแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล ได้ 4.59 คะแนน, การปฏิบัติตนของนักการเมือง/ความสามัคคี ได้ 4.60 คะแนน, การแก้ปัญหาความยากจน ได้ 4.77 คะแนน, ราคาสินค้า ได้ 4.82 คะแนน และการแก้ปัญหาการว่างงาน 4.83 คะแนน
ขณะที่ผลงานของนายกรัฐมนตรียังได้เท่าเดิมคือ 6.06 คะแนน ส่วนผลงานของรัฐบาล ได้ 5.77 คะแนน เพิ่มจาก 5.74 คะแนน, ข่าวสารที่เผยแพร่จากสื่อต่างๆ ให้ประชาชนรับรู้ ได้ 5.67 คะแนน เพิ่มจาก 5.60 คะแนน, การจัดการศึกษาสำหรับประชาชน ได้ 5.64 คะแนน เพิ่มจาก 5.54 คะแนน, การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน ได้ 5.62 คะแนน เพิ่มจาก 5.58 คะแนน, การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ได้ 5.59 เพิ่มจาก 5.52 คะแนน, การแก้ปัญหาต่างๆ ของรัฐบาลในภาพรวม ได้ 5.43 คะแนน เพิ่มจาก 5.21 คะแนน, ค่าครองชีพ/เงินเดือน/ค่าจ้าง/สวัสดิการ ได้ 5.40 คะแนน เพิ่มจาก 5.24 คะแนน,
สภาพของสังคมโดยรวม ได้ 5.36 คะแนน เพิ่มจาก 5.29 คะแนน, ความเป็นอยู่ของประชาชน ได้ 5.33 คะแนน เพิ่มจาก 5.31 คะแนน, สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม ได้ 5.32 คะแนน เพิ่มจาก 5.26 คะแนน, จริยธรรม/วัฒนธรรมของคนในชาติ ได้ 5.28 คะแนน เพิ่มจาก 5.27 คะแนน, ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้ 5.19 คะแนน เพิ่มจาก 5.12 คะแนน และความมั่นคงของประเทศ/การก่อการร้าย ได้ 5.16 คะแนน เพิ่มจาก 5.09 คะแนน
ส่วนประเด็นที่มีคะแนนลดลงจากเดือนก่อน ได้แก่ การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้ ได้ 5.69 คะแนน ลดลงจาก 5.70 คะแนน, การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม ได้ 5.53 คะแนน ลดลงจาก 5.67 คะแนน, การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรอิสระ ได้ 5.47 คะแนน ลดลงจาก 5.55 คะแนน, การแก้ปัญหายาเสพติด ได้ 5.20 คะแนน ลดลงจาก 5.39 คะแนน, ความสามัคคีของคนในชาติ ได้ 5.10 คะแนน ลดลงจาก 5.15 คะแนน
ทั้งนี้ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้คะแนนดัชนีการเมืองไทย 5.73 คะแนน เพิ่มจาก 5.69 คะแนน, ประชาชนในภาคเหนือให้ 5.49 คะแนน ลดลงจาก 5.50 คะแนน, ประชาชนในภาคกลางให้ 5.33 คะแนน เพิ่มจาก 5.29 คะแนน, ประชาชนในกรุงเทพฯ ให้ 4.74 คะแนนเท่าเดิม และประชาชนในภาคใต้ให้ 4.53 คะแนน เพิ่มจาก 4.52 คะแนน