2.ปัญหาคดีความคนจนที่ทั้งหมดอยู่ในกระบวนการพิจารณาแก้ไขปัญหาและเยียวยาจากรัฐบาล แต่กลับมีการเดินเนินคดีอย่างต่อเนื่อง, 3.ปัญหาที่ดินชุมชนทับซ้อนกับที่ดินรัฐ, 4.ปัญหาที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค, 5.ปัญหาผลกระทบจากเหมืองแร่ โรงไฟฟ้าและโรงโม่หิน, 6.ปัญหาสัญชาติและชาติพันธุ์ และ 7.ปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อน
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรัดจัดโฉนดชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือ เนื่องจากทางรัฐบาลยังคงไม่ดำเนินการต่อภายหลังจากมีการประชุมของคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่อนุญาตส่งมอบพื้นที่ที่ได้รับการอนุญาติของ ปจช. จึงทำให้ประชาชนเดือดร้อนเพราะถูกคุกคามและดำเนินคดีอาญาและทางแพ่ง, ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเขื่อนปากมูลอย่างเป็นรูปธรรม ที่มีปัญหามากว่า 24 ปี ภายหลังจากมีการสร้างเขื่อน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนพันธุ์ปลาเริ่มหมดจนไม่สามารถทำอาชีพประมงได้ตามเดิม จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเขื่อนปากมูลถาวร รวมถึงจ่ายค่าเยียวยาให้กับประชาชนที่เดือดร้อน
ด้านนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ซึ่งเป็นผู้รับหนังสือแทนนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องใดที่มีมติจากคณะกรรมการแล้วให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมครม.ทันที ส่วนเรื่องที่ยังไม่เริ่มประชุมขอเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนคณะกรรมการใหม่ทั้งหมดและเร่งรัดประชุมทันที ซึ่งเบื้องต้นได้มีการประสานงานไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแล้วเพื่อนำเรื่องไปพิจารณาอีกครั้ง
ขณะที่ทางแกนนำกลุ่มพีมูฟจะเข้ามาเจรจาเพื่อติดตามความคืบหน้ารวมถึงยื่นหนังสือเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวในเวลา 13.00 น.อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาการชุมนุมของกลุ่มพีมูฟกว่า 2 ชั่วโมงนั้น ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ทั้งหมด 3 กองร้อย เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยโดยรอบทำเนียบรัฐบาล และจากการชุมนุมมีผู้ได้รับอุบัติเหตุ 1 ราย (นิ้วขาด) จากการเขย่ารั้วตรงบริเวณประตู 1 หรือประตูน้ำพุ