ทั้งนี้ ในวันที่ 27 พ.ค. นายยาน ทูน รองประธานาธิบดี เมียนมาร์ ที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการระดับสูง และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง จะเป็นสักขีพยานลงนามเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ(SPV) ระหว่างประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ โดยตัวแทนฝ่ายไทยที่จะให้เข้าถือหุ้น ใน SPV จะเป็นสถาบันองค์กรมหาชน (เนด้า) และในอนาคตจะมีประเทศที่ 3 คือ ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงนามด้วย แต่ขณะนี้ที่ยังไม่สามารถร่วมลงนามได้ เนื่องจากติดขัดเรื่องกฎหมาย รวมถึงอาจจะมีประเทศที่ 4 เข้ามาร่วมลงนามอีกด้วยแต่ยังไม่ทราบว่าจะเป็นประเทศใด
นอกจากนี้ทางองค์กร SPV จะทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ทวาย และจะมีการเชื้อเชิญภาคเอกชนและรัฐบาลต่างประเทศมาร่วมลงทุนในทวายด้วย รวมไปถึงการออกกฎเกณฑ์พิเศษเพื่อเชื้อเชิญประเทศต่างๆที่สนใจเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจทวาย
ส่วนลักษณะนิติบุคคลย่อย หรือ SPC ก็มีรัฐวิสาหกิจของไทยหลายแห่งให้การตอบรับที่จะมาร่วมลงทุนกับ SPC เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย การประปา การไฟฟ้า รวมถึงบริษัทเอกชนที่สนใจ คือกลุ่มบริษัทอิตัลไทย และกลุ่มอมตะ พร้อมกันนี้นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า นายกรัฐนตรี พร้อมที่จะประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนไทยที่สนใจไปลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจทวายอย่างเต็มที่