เบื้องต้นเห็นว่าพื้นที่ของ รฟท.ที่มีศักยภาพสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ ได้แก่ บริเวณบ้านพักพนักงานรถไฟ กม.11 และสำนักงานฝึกอบรมและพัฒนา การรถไฟฯ เนื้อที่รวม 258 ไร่ ซึ่ง รฟท.จะต้องไปวางแผนว่าจะจัดสรรพื้นที่สำหรับพนักงานอย่างไร และจะแบ่งพื้นที่มาพัฒนาเชิงพาณิชย์อย่างไร โดยแนวทางการพัฒนาต้องดูในภาพรวม ไม่ใช่แบ่งพื้นที่พัฒนาเป็นส่วนๆ ซึ่งทำให้ได้รับผลตอบแทนไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
ส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณมักกะสันที่มีประชาชนเรียกร้องให้พัฒนาเป็นพื้นที่สวนสาธารณะนั้น รมว.คมนาคม กล่าวว่า การจัดสรรพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่สีเขียวคงมีความจำเป็น แต่จะไม่ใช้พื้นที่ทั้งหมด เพราะพื้นที่บางส่วนจะต้องพัฒนาเชิงพาณิชย์ด้วย เพื่อให้รฟท.มีรายได้ นำไปลดภาระหนี้สินที่มีอยู่กว่า 1 แสนล้านบาท