สำหรับ “จุดอ่อน" ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 24.92 เป็นการบริหารงานนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ผิดพลาด เช่น การกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท, โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท, นโยบายประชานิยมต่างๆ รองลงมา ร้อยละ 13.97 เป็นความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น ร้อยละ 11.94 เป็นความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 7.20 การไม่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการดำเนินการโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจค) ร้อยละ 6.96 การก้าวข้ามไม่พ้น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 6.25 เป็นความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ทางการเมือง และร้อยละ 5.87 ความพยายามในการเสนอ พรบ. ปรองดอง และ พรบ. นิรโทษกรรมเพื่อนำทักษิณกลับมา
ท้ายสุดเมื่อถามถึงสาเหตุสำคัญที่สุดที่น่าจะทำให้รัฐบาลล้มลงและไม่สามารถอยู่ครบวาระ 4 ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 20.81 ระบุว่า รัฐบาลขาดความน่าเชื่อถือจากประชาชน รองลงมา ร้อยละ 13.74 เป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล เช่น กลุ่มเสื้อสีต่างๆ ร้อยละ 10.48 เกิดจากเศรษฐกิจของประเทศล่ม ร้อยละ 8.10 เป็นความแตกแยกในกลุ่มพรรคเพื่อไทยและกลุ่ม นปช. ร้อยละ 6.99 ความสามารถของฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรที่เหนือกว่ารัฐบาล ร้อยละ 5.80 เป็นความพยายามในการเสนอ พ.ร.บ.ปรองดอง และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ร้อยละ 3.49 เป็นความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 3.65 ระบุว่า อื่นๆ เช่น การบริหารงานที่ผิดพลาดในเรื่องต่างๆ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง การทุจริตคอรัปชั่น เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ขณะที่ร้อยละ 11.83 ระบุว่าไม่มีอะไรที่จะทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ล้มได้และจะอยู่ครบวาระ 4 ปี
ทั้งนี้ "นิด้าโพล" ได้ทำการสำรวจจากประชาชนทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,259 หน่วยตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม — 3 มิถุนายน 2556