นาย
พงศ์เทพ เทพกาญจนา รอง
นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยตัวแทนนักวิชาการคณะ
นิติศาสตร์และ
รัฐศาสตร์ จาก
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมกันแถลงความเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ศึกษาและวิจัยความเห็นทางวิชาการ โดยการยกร่าง
แก้ไขรัฐธรรมนูญ ตาม
มาตรา 291 ในการทำประชามติก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงการออกเสียงประชามติก่อน
รัฐสภาจะลงมติวาระ 3 ทำได้หรือไม่นั้น นักวิชาการได้สรุปความเห็นไว้ 2 แนวทาง คือสามารถทำได้ และทำไม่ได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ยกคำร้องมาตรา 68 ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
มาตรา 291 ไม่ได้เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คำวินิจฉัยจึงไม่มีผลในทางกฎหมาย เป็นเพียงคำแนะนำและไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่จะมีผลทางการเมืองหาก
รัฐสภาไม่ทำตามคำแนะนำก็จะทำให้กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยออกมาคัดค้านหรือต่อต้านและนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ได้
แต่การออกเสียงประชามติก่อนรัฐสภาจะลงมติวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ค้างอยู่ทำได้หรือไม่นั้น ก็มีคำตอบ 2 แนวทางเช่นกัน คือ ทำได้และทำไม่ได้
ดังนั้นนักวิชาการเห็นว่าก่อนการลงประชามติ ควรตั้งคำถามว่าประเทศไทยจะทำให้รัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดที่เป็นกติกาของคนทั้งประเทศและอยู่ร่วมกันท่ามกลางความเห็นที่ขัดแย้งโดยไม่แตกแยกได้อย่างไร ส่วนจะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือแก้เป็นรายมาตรานั้น ต้องใช้ความรู้และข้อบกพร่องในการแก้ไขฉบับที่ผ่านมาเป็นแนวทาง โดยไม่ควรใช้เสียงข้างมากแต่ควรใช้กระบวนการสร้างฉันทามติร่วมกันของคนทั้งประเทศ
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า หลังได้รับรายงานความเห็นครบถ้วนจากสถาบันต่างๆ แล้ว ภายในเดือนหน้าจะส่งความเห็นให้คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลไปศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญที่นายโภคิน พลกุล เป็นประธานเพื่อพิจารณา และเป็นอำนาจของรัฐสภาในการดำเนินการต่อไป
อินโฟเควสท์ โดย ฐานิสร์ ทองนอก/กษมาพร/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--