ส่วนประเด็น“ยกเลิกข้อความว่า คุณสมบัติของผู้สมัครเป็น ส.ว. ห้ามเป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตร ของผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ประชาชน ร้อยละ 46.2 ระบุว่าเห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 38.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 15.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ
สำหรับประเด็น “ยกเลิกเงื่อนไขที่ผู้ลงสมัคร ส.ว.ต้อง พ้นจาก การเป็นสมาชิกพรรค การเมือง หรือ ส.ส. 5 ปีเสียก่อน" ประชาชนร้อยละ 55.2 ระบุว่าเห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 30.1 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ส่วนอีกร้อยละ 14.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 35.5 ไม่แน่ใจว่าการแก้รัฐธรรมนูญดังกล่าวจะนำไปสู่การรวบอำนาจรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งเป็นสัดส่วนพอๆ กับประชาชนร้อยละ 34.7 ที่เห็นว่าน่าจะเป็นการนำไปสู่การรวบอำนาจรัฐสภาจริงตามที่ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกต ขณะที่ร้อยละ 29.8 ระบุว่าไม่จริงฝ่ายค้านคิดมากไป
สุดท้ายเมื่อถามว่า การแก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว. ดังกล่าวมีผลดีหรือผลเสียกับประเทศไทยมากกว่ากัน ประชาชนระบุว่ามีผลดีและผลเสียพอๆ กัน (ร้อยละ 36.8) รองลงมาคือมีผลดีมากกว่าผลเสีย (ร้อยละ 25.4) และมีผลเสียมากกว่าผลดี (ร้อยละ 19.1)
กรุงเทพโพลล์ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 429 คน โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา