อันดับ 1 การอภิปรายงบประมาณ 78.05% เพราะเป็นเงินจำนวนมากที่ต้องนำไปพัฒนาประเทศ อยากรู้รายละเอียดการใช้เงิน ไม่อยากเห็นการทุจริตคอรัปชัน ข้อเสนอแนะ ควรจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมตามความจำเป็น มีคณะกรรมการติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
อันดับ 2 พ.ร.บ.นิรโทษกรรม 76.31% เพราะเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อยากรู้ความคืบหน้าของเรื่องนี้ ข้อเสนอแนะ ควรรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกๆ ฝ่าย พิจารณาตามกระบวนการขั้นตอน ยึดความถูกต้องยุติธรรม
อันดับ 3 การปฏิรูปการเมือง โดยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ 64.11% เพราะอยากเห็นการเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น นักการเมืองสมัครสมานสามัคคี พัฒนาบ้านเมืองให้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนให้กับประชาชน รับฟังความคิดเห็นและข้อท้วงติงต่างๆ ฯลฯ
อันดับ 4 การอภิปรายที่มาของ ส.ว. 55.75% เพราะจะได้รู้ข้อมูลข้อเท็จจริงและเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.มากขึ้น เป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ข้อเสนอแนะพิจารณาอย่างเป็นธรรม ชี้แจงรายละเอียดและเหตุผลอย่างชัดเจน คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ ฯลฯ
อันดับ 5 การเคลื่อนไหวของฝ่ายค้านนอกสภา 51.92% เพราะไม่ค่อยได้เห็นบทบาทในลักษณะนี้ของฝ่ายค้าน ฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ข้อเสนอแนะ ควรพูดจากันด้วยเหตุผล รับฟังข้อมูลต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ ยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง
อันดับ 6 พันธมิตรแถลงยุติบทบาท 49.48% เพราะต้องการทราบข้อเท็จจริงในการยุติบทบาท เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวและได้รับความสนใจจากสังคม ข้อเสนอแนะ เคารพในสิทธิของแต่ละบุคคล ชี้แจงข้อมูลข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับรู้ ทุกฝ่ายควรหันหน้าพูดคุยกัน
เมื่อถามว่า 7 ประเด็นสำคัญที่ทำให้การเมืองไทยวุ่นวายในสายตาประชาชน
อันดับ 1 การชุมนุมทางการเมืองของแต่ละฝ่าย 86.25%, อันดับ 2 การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของผู้สนับสนุนแต่ละพรรคการเมือง 75.00%, อันดับ 3 การปลุกระดมมวลชนโดยนักการเมือง 71.67%,อันดับ 4 การอภิปรายในสภาของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน 68.75%
อันดับ 5 การกล่าวโจมตี โต้ตอบทะเลาะเบาะแว้งของนักการเมือง 66.67%,อันดับ 6 การใช้สื่อของแต่ละฝ่ายโจมตี /กล่าวหากันของนักการเมือง 65.83% และอันดับ 7 การตั้งเวทีโต้ตอบของนักการเมือง 59.17%