อีกทั้ง การพิจารณาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในวันที่ 11 พ.ย.นี้ตรงกับการตัดสินคดีปราสาทพระวิหารของศาลโลก ซึ่งอาจทำให้เกิดความวุ่นวายของบ้านเมือง
พร้อมยอมรับว่า ขณะนี้สมาชิกวุฒิสภามีความเห็นที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งต้องการให้รับหลักการในวาระแรก และตั้งกรรมาธิการเต็มสภา เพื่อแก้ไขในมาตรา 3-4 เพื่อกลับไปใช้ของร่างนายวรชัย เหมะ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จากนั้นก็จะส่งให้สภาให้ความเห็นชอบ แต่หากไม่เห็นชอบก็ต้องตั้งกรรมาธิการ 2 สภา เพื่อพิจารณาอีกครั้ง
"ส่วนตัวเห็นว่าควรจะพิจารณาในวันที่ 8 พ.ย. และเห็นว่าวุฒิสภาควรลงมติไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการยุติปัญหา ซึ่งแนวทางนี้สภาสามารถหยิบหยกขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหลัง 180 วัน โดยทุกฝ่ายจะต้องให้ความเชื่อมั่นตามที่รัฐบาลออกมายืนยันว่าจะไม่ผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภาอีก" นายนิคม กล่าว
นอกจากนี้ ประธานวุฒิสภายังรับหนังสือจากตัวแทนคณาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมด้วย และให้วุฒิสภาเร่งพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อลดความขัดแย้ง