เนื่องจากเห็นว่า การผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ดังกล่าว เป็นไปด้วยความเร่งรีบ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็น ตลอดจนมีเนื้อหาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหลายประการ อาทิ การยกเว้นความผิดในคดีต่างๆ ที่ศาลได้ตัดสินไปแล้ว ซึ่งถือเป็นการแทรกแซงอำนาจตุลาการ และเมื่อประชาชนจำนวนมากออกมาคัดค้านรัฐบาลและ ส.ส. ทั้ง 310 คนดังกล่าวก็ออกมาให้สัตยาบันว่าจะไม่นำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวขึ้นมาพิจารณา สะท้อนให้เห็นว่า 310 ส.ส.ออกเสียงลงคะแนนในลักษณะที่ตกอยู่ภายใต้อาณัติ มอบหมาย หรือครอบงำของบุคคล อันเป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 122
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา กล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวดำเนินการตามขั้นตอนของวุฒิสภา โดยหลังจากนี้ทางเครือข่ายฯ ต้องรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 รายชื่อ ภายใน 180 วัน นำมาเสนอต่อวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภาตรวจสอบคำร้องและรายชื่อประชาชน ก่อนยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ดำเนินการต่อไป