2. ปัจจุบันมีพระบรมราชโองการกำหนดวันเลือกตั้งแล้ว คนไทยควรนำพระบรมราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อม และแสดงความจงรักภักดีโดยการปฏิบัติตามและเดินเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไป
3. ในพระราชกฤษฎีกา มาตรา 5 กำหนดว่า ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ดังนั้นนายกฯ จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ และจะลาออกจากการรักษาการไม่ได้
4. รัฐธรรมนูญ มาตรา 181 กำหนดว่าคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ดังนั้นถ้านายกฯ ลาออกถือว่าละเว้นปฏิบัติหน้าที่ มีความผิดตามกฎหมายอาญา
5. หลักการประชาธิปไตย 1 คน 1 เสียง (one man, one vote) เป็นหลักการที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และใช้กันไปทั่วโลก ในอดีตหลายประเทศเคยให้สิทธิ์ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คนผิวขาวมากกว่าคนผิวดำ แต่ก็ต้องยกเลิกหลักการนี้ไปให้ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ดังนั้นการที่มีอธิการบดีบางคน หรือ ดร.เสรี วงษ์มณฑา ที่บอกว่า “3 แสนเสียงในกรุงทพ เป็นเสียงที่มีคุณภาพ ย่อมดีกว่า 15 ล้านเสียงในต่างจังหวัด แต่ไร้คุณภาพ" จึงเป็นการต่อต้านหลักการประชาธิปไตยและถอยหลังเข้าคลอง
6. การที่นายกล้านรงค์ อดีต ปปช. เสนอให้ ปปช. ลัดขั้นตอนชี้มูลในกรณีถอดถอน ส.ส.-สว 312 คนนั้น สะท้อนความเป็นตัวตนและสภาพจิตใจของนายกล้านรงค์ที่ฝ่ายประชาธิปไตยสงสัยมาตลอดตั้งแต่ยึดอำนาจปี 2549 แล้วว่า คดีที่สอบสวน พ.ต.ท.ทักษิณ และฝ่ายตรงข้ามนั้น เป็นกลางและมีอคติหรือไม่ ต้องขอบคุณที่แสดงตัวตนก่อนวันเลือกตั้งออกมาอย่างชัดเจน หวังว่า ปปช. คงพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ
7. พรรคเพื่อไทยขอให้พรรคการเมืองแต่ละฝ่ายนำเสนอนโยบายต่อมวลมหาประชาชน 65 ล้านคนในการเลือกตั้งครั้งนี้ และหวังว่ามวลมหาประชาชนที่ถนนราชดำเนิน และ กปปส. จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งกับคน 48 ล้านคนในวันที่ 2 ก.พ. นี้ เพื่อหาทางออกให้ประเทศอย่างสันติ
8. พรรคเพื่อไทยขอขอบคุณมิตรประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน อเมริกา นิวซีแลนด์ เยอรมัน ออสเตรเลีย ที่ต่างสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโดยสันติ และให้ทุกคนเคารพกระบวนการประชาธิปไตยโดยการเลือกตั้ง