พร้อมระบุว่า การชุมนุมปิดถนนหรือระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะและทำให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งได้มอบหมายให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านอำนวยการ เป็นผู้ดูแลในข้อกฎหมายที่กี่ยวข้องรวมถึงเก็บข้อมูลหลักฐานในขอบเขตที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งพ.ร.บ.จราจร , พ.ร.บ.ทางหลวง เป็นต้น และมอบหมายให้นายชูศักดิ์ เกวี รองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนน รับผิดชอบในเรื่องการขนส่งสินค้าที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากจะมีการขนส่งสินค่าไปยังท่าเรือกรุงเทพ(คลองเตย)ประมาณ 1 ล้านทีอียูต่อปี ไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ 24% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดของประเทศต่อปี
"ยืนยันกระทรวงคมนาคมมีหน้าที่ในการดูแลประชาชนให้ได้รับความสะดวกในการเดินทาง จะไม่พูดว่าใครผิดใครถูก ไม่สนใจความขัดแย้งทางการเมือง แต่เมื่อมีการปิดถนนเดินทางไม่ได้จะต้องหาทางแก้ไข ข้าราชการทำตามหน้าที่และถ้ามีการทำให้ทรัพย์สินราชการเสียหายหรือสินค้าขนส่งไม่ได้เศรษฐกิจเสียหาย ก็ต้องเก็บข้อมูลไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ไม่งั้นก็ละเว้นปฏิบัติหน้าที่อีก ซึ่งก็ต้องประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูงประชาชนเข้าใจว่าการกระทำบางอย่างผิดกฎหมาย"นายชัชชาติกล่าว
รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในวันที่ 3 ม.ค.นี้จะเชิญทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) มาร่วมหารือด้วยว่ากทม.มีแนวทางอย่างไรบ้าง ซึ่งม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.เป็นกรรมการในคณะกรรมการแก้ปัญหาจราจรในกทม.และปริมณฑลด้วย นอกจากนี้ จะมีการประชุมทุกวันเพื่อประเมินสถานการณ์และหาทางเลือกในการเดินทางที่เหมาะสมให้กับประชาชน โดยหลักการจะให้ประชาชนใช้บริการรถสาธารณะแทนรถส่วนตัวให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณรถยนต์ในกทม. โดยเมื่อรถยนต์น้อยลง เชื่อว่าตำรวจจะสามารถจะบริหารจัดการให้รถเมล์ รถสาธารณะต่างๆ วิ่งได้ ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะต้องไปหาทางเลือกไว้
อีกทั้ง การจัดหาจุดจอดรถชานเมืองชั่วคราวเพื่อให้ประชาชนจอดรถและใช้รถสาธารณะหรือระบบราง รถไฟ รถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิ้งร์ หรือเรือโดยสารเข้าเมืองแทน เช่น บริเวณ รังสิต ลาดกระบัง นครปฐม สนามบินสุวรรณภูมิ แล้วจัดรถ Shuttel Bus มาส่งที่แอร์พอร์ตลิ้งค์หรือสถานีรถไฟเพื่อเข้าเมืองอีกทอดหนึ่ง ซึ่งแม้ระบบรางที่มีจะรองรับปริมาณการเดินทางแทนถนนไม่ได้ 100% แต่สามารถช่วยได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะขอความร่วมมือให้รถไฟฟ้าเพิ่มความถี่ออกไปนอกเวลาเร่งด่วนด้วย