"การเจรจาเปิดเผยก่อน เราเสียเปรียบในการเจรจามากกว่า" นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่รัฐบาลยุบสภาและรอการเลือกตั้งใหม่ อีกทั้งจะมีการปิดกรุงเทพในวันที่ 13 ม.ค.นี้ ทำให้แผนงานกระทรวงพลังงานชะงักออกไป โดยงานเร่งด่วน ได้แก่ แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(PDP), การขยายเวลาจ่ายไฟสำหรับ Solar Roof และการขยายโควต้าเพิ่มอีก ซึ่งต้องรัฐบาลใหม่เข้ามาดำเนินการ
ด้านนายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิง กล่าวว่า จะเตรียมเรื่องเร่งรัดให้รัฐบาลใหม่ตัดสินใจ ได้แก่ การเปิดสัมปทานรอบใหม่รอบที่ 21, การทำหลักการแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในไทยที่เชฟรอน และ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม( PTTEP) ที่ได้รับสัมปทานและเหลืออายุสัมปทาน 8 ปี ส่วนการเจรจาการพัฒนาพื้นที่ร่วมไทย-กัมพูชาก็ยังต้องรอรัฐบาลใหม่เข้ามาดำเนินการต่อ
"หากไม่หารือกันก่อนจะหมดอายุสัมปทาน 5 ปีสุดท้าย เอกชนก็จะไม่ลงทุน" นายทรงภพ กล่าว
ทั้งนี้ ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้วในแหล่งอ่าวไทยมีปริมาณ 9 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ขณะที่ปัจจุบันผลิตได้ประมาณ 2.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยเชฟรอนผลิตได้ราว 1.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต ส่วน PTEP(แหล่งบงกช) ผลิตได้ราว 1 พันล้านลูกบาศก์ฟุต