องค์การขนส่งมวชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดรถ Shuttle bus เชื่อมต่อจุดจอดรถ รฟม. พระราม 9 เส้นทางวงกลมสถานีรถไฟฟ้าพระรามเก้าและสถานีศูนย์วัฒนธรรม
การเดินเรือเสริมพิเศษในแม่น้ำเจ้าพระยาจากท่าเรือห้าแยกปากเกร็ด ถึง ท่าเรือสาธร ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร จำนวนเรือเสริมพิเศษ 7ลำ ประมาณ 20 เที่ยว (เฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้า-เย็น) ช่วงเช้าขาเข้าเมือง ลงในเรือท่าเรือห้าแยกปากเกร็ด ท่าเรือนนทบุรี ท่าเรือพระราม 5 และท่าเรือพระราม 7 ขึ้นจากเรือ ท่าเรือเกียกกาย ท่าเรือวังหลังและท่าเรือสาทรช่วงเย็นขาออกเมือง ลงในเรือ ท่าเรือสาทร ท่าเรือวังหลังและท่าเรือเกียกกายขึ้นจากเรือ ท่าเรือพระราม 7 ท่าเรือพระราม 5 ท่าเรือนนทบุรีและท่าเรือห้าแยกปากเกร็ด สำหรับท่าเรือเกียกกาย ทาง ขสมก. จัดรถพิเศษไปส่งที่ MRT บางซื่อ และ BTS หมอชิต และสะพานควาย
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดความถี่ในการเดินรถเพิ่มมากกว่าปกติ โดยสายเหนือ จัดเดินขบวนรถจาก กรุงเทพ – รังสิต – กรุงเทพ ช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เวลา 5.30 – 9.00 น. และเวลา 15.00 – 20.00 น. มีขบวนรถไฟชานเมืองวิ่งถี่ 15 นาทีต่อ 1 ขบวนช่วงเวลา 9.00 – 15.00 น. จะมีขบวนรถวิ่งถี่ 30 – 40 นาทีต่อ 1 ขบวนหยุดรับส่งผู้โดยสารที่ สามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต และป้ายหยุดรถ ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับขบวนรถด่วน รถเร็ว ที่เดินระยะทางไกล ตั้งแต่สถานีรังสิต – กรุงเทพ จะหยุดรับส่งทุกสถานี และอนุญาตให้ผู้โดยเดินทางกับขบวนรถได้ แต่ทั้งนี้ต้องไปขอรับตั๋วรถไฟฟรีก่อนขึ้นขบวนรถ
สายตะวันออก จัดเดินขบวนรถจาก กรุงเทพ – หัวตะเข้ –กรุงเทพช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เวลา 5.30 – 9.00 น. และเวลา 15.00 – 20.00 น. มีขบวนรถไฟชานเมืองวิ่งถี่ 15 นาทีต่อ 1ขบวนช่วงเวลา 9.00 – 15.00 น. จะมีขบวนรถวิ่งถี่ 30 – 40 นาทีต่อ 1ขบวนหยุดรับส่งผู้โดยสารที่ มักกะสัน คลองตัน หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง หัวตะเข้ และที่หยุดรถทั้งเที่ยวไป และเที่ยวกลับ
สายใต้ จัดเดินขบวนรถไฟจากสถานี กรุงเทพ – ศาลายา – กรุงเทพ และจากสถานีธนบุรี – ศาลายา – กรุงเทพ ช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เวลา 5.30 – 9.00 น. และเวลา 15.00 – 20.00 น. มีขบวนรถไฟชานเมืองวิ่งถี่ 15 นาทีต่อ 1 ขบวนช่วงเวลา 9.00 – 15.00 น. จะมีขบวนรถวิ่งถี่ 30 – 40 นาทีต่อ 1 ขบวนหยุดรับส่งผู้โดยสารที่ สามเสน บางซื่อ บางซ่อน บางบำหรุ ตลิ่งชัน ศาลาธรรมสพน์ ศาลายา และป้ายหยุดรถ ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับทุกสถานี และอนุญาตให้ผู้โดยเดินทางกับขบวนรถได้ แต่ทั้งนี้ต้องไปขอรับตั๋วรถไฟฟรีก่อนขึ้นขบวนรถ
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าธรรมดา (city Line) 06.00-24.00น แต่ในกรณีจำเป็นสามารถเปิดได้ ถึงเวลา 02.00น.โดยกรณีมีผู้โดยสารหนาแน่น (Overcrowding) จัดเตรียมรถไฟฟ้าสำรองการให้บริการ รถไฟฟ้าธรรมดาจำนวน 1 ขบวน และรถไฟฟ้าด่วน จำนวน 1 ขบวน พร้อมเพิ่มความความเข้มงวดและเพิ่มการตรวจตราเป็นพิเศษ ส่วนรถไฟฟ้า MRTจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยและดูแลความสะอาดให้เพียงพอกับผู้ใช้บริการจำนวนมาก พร้อมตั้งจุดจำหน่ายเหรียญโดยสารเพิ่มเติมเพื่อความรวดเร็วในการใช้บริการของผู้โดยสาร
บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)จัดรถโดยสารวิ่งหมุนเวียนรับ – ส่งผู้โดยสารระหว่าง ลานจอดรถยนต์ระยะยาวสนามบินสุวรรณภูมิของ ทอท. กับสถานีรถไฟฟ้าลาดกระบัง จัดรถโดยสารขนาดตั้งแต่ 44-53 ที่นั่ง ให้บริการได้ไม่น้อยกว่าวันละ 20 คัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 21.00 น. ของทุกวัน
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)จัดจุดกลับรถและจุดจอดรถบนทางพิเศษในกรณีฉุกเฉิน โดยจุดกลับรถถาวรที่ใช้งานในช่วงเวลาปกติ จำนวน 4 จุดที่สุขุมวิทพระราม 4สาธุประดิษฐ์ และโยธินพัฒนา,จุดกลับรถชั่วคราวบริเวณหน้าด่านฯ ที่ใช้งานในช่วงเวลาฉุกเฉิน จำนวน 9 จุดด่านฯ ท่าเรือ 1ด่านฯ ท่าเรือ 2ด่านฯ พระราม 4-1ด่านฯ อโศก 2ด่านฯ พหลโยธิน 1ด่านฯ พหลโยธิน 2ด่านฯ รัชดาภิเษกด่านฯ พัฒนาการ 1ด่านฯ พัฒนาการ 2 และจุดกลับรถบนทางด่วน อีก 23 จุด
อย่างไรก็ดี ในช่วงบ่ายวันนี้ รมว.คมนาคม จะตรวจเยี่ยมจุดจอดรถ (park & ride) และการให้บริการขนส่งสาธารณะเชื่อมต่อการเดินทาง โดยมีการจัดจุดจอดรถยนต์ในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะอื่น เช่น MRT, BTS, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ และเรือ รวมจำนวน 40 จุด รวมพื้นที่จอดรถ 17,935 คัน โดยแบ่งเป็น 5 โซน คือ โซน 1 พื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน จำนวน 5 จุด พื้นที่จอดรถ 1,360 คัน, โซน 2 พื้นที่ด้านทิศเหนือ จำนวน 8 จุด พื้นที่จอดรถ 3,370 คัน, โซน 3 พื้นที่ด้านตะวันออก จำนวน 10 จุด พื้นที่จอดรถ 7,465 คัน, โซน 4 พื้นที่ด้านทิศใต้ จำนวน 9 จุดพื้นที่จอดรถ 4,760 คัน และโซน 5 พื้นที่ด้านตะวันตก จำนวน 8 จุด พื้นที่จอดรถ 980 คัน