รัฐมนตรีดังกล่าว ได้แก่ นายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย, นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ, พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี, นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี, นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี,
นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม, ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน, นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ, นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย, นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง, นายพ้อง ชีวานันท์ รมช.คมนาคม, น.อ.อนุดิษฐ นาครทรรพ รมว.ไอซีที และนายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี,นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรมช.เกษตร
“การที่ ครม.รักษาการประกาศขยายเวลาใช้ พ.ร.บ.มั่นคงฯ เพื่อควบคุมประชาชนทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญรองรับว่าเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลกลับไม่ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ประกาศใช้ พ.ร.บ.มั่นคงเพื่อให้ได้เปรียบในการเลือกตั้ง ปิดกั้นไม่ให้ผู้ชุมนุมเปิดเผยความชั่วร้ายของรัฐบาล ซึ่งกกต.มีอำนาจให้ใบแดงตัดสิทธิได้ทันที"นายวิรัตน์ กล่าว
นอกจากนี้ การออกมติ ครม.ดังกล่าวมีกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย เช่น นายจารุพงศ์ หัวหน้าพรรค นายปลอดประสพ กรรมการบริหารพรรค เมื่อกรรมการบริหารพรรคทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรมก็เป็นเหตุผลที่จะยุบพรรคเพื่อไทย โดยเชื่อว่าภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่เพียงพอที่ กกต.จะให้ใบแดงก่อนการเลือกตั้งได้
"ถ้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ใบแดงก็เป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้เพราะไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57ได้ โดยกกต.มีอำนาจตัดสิทธิได้ 1 ปีก่อนการประกาศรับรองผล"นายวิรัตน์ กล่าว