ฉะนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่โดยเด็ดขาดของ กกต.ที่จะจัดการเลือกตั้งให้ลุล่วง โดยอาศัยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 จะให้รัฐบาลออกพ.ร.ฎ.มาซ้อนพ.ร.ฎ.ไม่ได้ เพราะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
"อยากถามว่าเป็นกับดักที่ กกต.ชุดนี้วางไว้หรือไม่"นายพร้อมพงศ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 17 ก.พ.ที่ กกต.จะเชิญตัวแทนรัฐบาล ตัวแทนพรรคเพื่อไทย ไปร่วมหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อหาทางออกนั้น คิดว่าถ้า กกต.เปิดใจรับฟังผู้เชี่ยวชาญ เช่น อดีต กกต.อย่าง นางสดศรี สัตยธรรม นายประพันธ์ นัยโกวิท ก็น่าจะมีทางออก มากกว่าที่จะฟังแต่คนที่มีทัศนคติต้องการเลื่อนเลือกตั้งอย่างนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทั้งนี้ อยากให้ กกต.ทั้ง 5 คนประชุมร่วมกันและมีมติออกประกาศรับรองคุณสมบัตรผู้สมัครส.ส. 28 เขตเลือกตั้งที่สมัครไม่ได้ และกำหนดวันลงคะแนนออกมา มิฉะนั้น กกต.จะต้องรับผิดชอบทั้งทางอาญาและทางแพ่ง เพราะมีคนไปฟ้องร้องเอาผิดไว้แล้ว